คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การติดตามและประเมินผลระบบบริการยุติการตั้งครรภ์ และ พัฒนานวัตกรรมบริการนวัตวิถี ( New Normal ) ในบริบทกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ฉบับใหม่

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

29.08.2566
58
0
แชร์
29
สิงหาคม
2566

การติดตามและประเมินผลระบบบริการยุติการตั้งครรภ์ และ พัฒนานวัตกรรมบริการนวัตวิถี ( New Normal ) ในบริบทกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ฉบับใหม่
ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ สรุป ข้อค้นพบ โครงการวิจัยติดตามผลระบบบริการยุติการตั้งครรภ์หลังการแก้ไขกฎหมายอาญาว่าด้วยการทำแท้ง วันที่ 28 สิงหาคม 2566 โรงแรมรอยัล ริบเวอร์ กรุงเทพฯ
การเก็บข้อมูลครอบคลุมทั้ง 4 ภาค ระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติการ ผู้รับบริการยุติการตั้งครรภ์ที่มีปัญหาการเข้าถึงบริการ และไม่มีปัญหา ข้อมูลจาก สปสช. สายด่วน 1663 ค้นพบ คนเข้าถึงบริการไม่เท่าเทียมกัน

*** ข้อเสนอเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย โดย ผู้เกี่ยวข้องด้านต่างๆ ความเหลื่อมล้ำทางโครงสร้างสังคมรูปแบบต่างๆ เป็นอุปสรรคสำคัญที่ส่งผลกระทบให้ผู้หญิงท้องไม่พร้อมไม่สามารถเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยได้อย่างเท่าเทียมกัน
1.การลดความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้างที่ตรงเป้าที่สุด คือการเพิ่มจำนวนสถานบริการให้มากขึ้นและครอบคลุมทุกจังหวัด ปัจจุบันครอบคลุม 39 จังหวัด
2. การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริการยุติการตั้งครรภ์
3.การลดผลกระทบของคววามเหลื่อมล้ำที่เกิดจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจและทัศนคติ ความเชื่อส่วนบุคคล
4.การลดความเหลื่อมล้ำด้วยการทำงานเป็นเครือข่ายบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย โดยสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม
*** จากการร่วมเสนอความคิดเห็นในสิ่งที่ค้นพบจากตัวแทนองค์กรต่างๆ
 _ นโยบาย ทัศนคติ รัฐยังคิดว่ากฎหมายเป็นสิ่งคุกคาม และเป็นสิทธิ
 _ การมองเรื่อง Sex อนามัยการเจริญพันธุ์ มีข้อจำกัดในบริการ กฎหมายและนโยบายสาธารณะของรัฐ ส่งผลกระทบให้ระบบการศึกษา ปิดกั้น ไม่ทำให้ผู้เรียน เรียนรู้เรื่องเพศของตัวเอง ทำให้การเจริญพันธุ์จัดการกับตัวเองไม่ได้ ข้อเสนอแนะ ระบบการศึกษาทำให้คนสามารถมองโลกไม่ซับซ้อนใช้ เกณฑ์ ผิด ถูก ง่ายๆ

 _ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ทำให้การเข้าถึงบริการยาก ผู้ให้บริการมีน้อย มีข้อจำกัด ต้นทุนการเดินทางสูง พร้อมกับการอคติ ตีตรา
 _รัฐไม่ได้จัดสรรบริการที่ครอบคลุม กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ให้ตอบสนองปัญหาของผู้รับบริการ / ความเหลื่อมล้ำลดผลกระทบน้อยลง           แต่รัฐไม่ อยากลดความเหลื่อมล้ำ
 _จัดการอคติ โดยการไม่บังคับเป็นเรื่องที่รัฐทำยาก
 _รัฐ ควรร่วมมือกับเอกชน ภาคประชาสังคม ร่วมทำงานเป็นเครือข่ายโดยมองประชาชน เป็น Partner
 _ กรม กอง ต้องรับผิดชอบอย่างชัดเจน เป็นผู้ขับเคลื่อนกระบวนการ ในการจัดการเกิดขึ้นในโรงพยาบาล ควบคุม มาเป็นงานคุณภาพ เช่น HA
 _สร้างกลไกใหม่กับผู้บริหาร เพราะระบบราชการ เหมือนเขาบงกช มีความสลับซับซ้อน วกวน สร้างอุปสรรคในการเข้าถึงบริการ
 _ ระบบการสื่อสาร ให้ทั่วถึงประชาชน ฯลฯ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน