คุณกำลังมองหาอะไร?

ระชุมเชิงปฏิบัติการคืนข้อมูลผลการศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของประขาชนไทยให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในระดับจังหวัดเขตสุขภาพ กรมวิชาการ และกระทรวง

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.01.2567
23
0
แชร์
24
มกราคม
2567

ด้วยกองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการคืนข้อมูลผลการศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของประขาชนไทยให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในระดับจังหวัดเขตสุขภาพ กรมวิชาการ และกระทรวง ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๑๙ มกราคม ๒๕๖๗ ณ โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเพื่อพัฒนางานส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ และสร้างความระหนักถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่องค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยมี นายแพทย์สิทธิพงษ์ ยิ้มสวัสดิ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ เป็นประธานเปิดการประชุม วิทยากร ประกอบด้วย นางวิมล โรมา อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกรมอนามัย รศ.ดร.ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมสุขภาพมหานคร ภายใต้ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี ศาสตราจารย์ ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทันตแพทย์จเร วิชาไทย ผู้จัดการงานวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข นายยุทธพงษ์ ขวัญชื้น กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา บริษัท ซูเปอร์โพล จำกัด ร่วมอภิปรายผลการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพ และดร.ภารุจีร์ เจริญเผ่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเครื่องมือและวิจัย พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายจากระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในส่วนของศูนย์อนามัยที่11
นครศรีธรรมราช เข้าร่วมการประชุม นำโดย ดร.ชัยณรงค์ แก้วจำนงค์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาวิจัย นวัตกรรมและความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ
ดร.เปรมยุดา นาครัตน์ จากการประชุมในครั้งนี้พบว่า
1. ผู้เข้าร่วมได้ทราบถึงกระบวนการในการได้มาซึ่งผลการสำรวจความรอบรู้ฯ
2. ผู้เข้าร่วมได้ทราบข้อมูลก่อนวิเคราะห์ ซึ่งช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์จนถึงการทำข้อเสนอเชิงนโยบาย
4. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับข้อมูลเบื้องต้นและทิศทางข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการยกระดับความรอบรู้ฯ
5. เกิดการร่วมกันพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในระดับเขตสุขภาพ
6. ผู้เข้าร่วมตระหนักและมีแนวทางการนำข้อมูลสำรวจไปใช้ประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานในเขตสุขภาพ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน