คุณกำลังมองหาอะไร?

ลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่นร่วมรับฟังประเด็นการทำแท้งปลอดภัย ในเวทีการประชุม The Abortion and Reproductive Justice Conference IV 2024 : The Unfinished Revolution

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

20.02.2567
7
0
แชร์
20
กุมภาพันธ์
2567

17-18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ตัวแทนกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่นร่วมรับฟังประเด็นการทำแท้งปลอดภัย เพิ่มการเกิดคุณภาพ ในเวทีการประชุม The Abortion and Reproductive Justice Conference IV 2024 : The Unfinished Revolution ซึ่งจัดขึ้นที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 15-18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
ประเด็นการทำแท้งปลอดภัย เพิ่มการเกิดคุณภาพ
ประเด็นที่ทำให้ทุกคนในห้องปรบมือ คือ ใครๆ บอกว่าเธอทำแท้งจะตกนรก แต่จริงๆ คือ เธอได้ไปสวรรค์
อินโดนีเซีย มี Hotline Samsara ให้คำปรึกษาผู้หญิงท้องไม่พร้อม ดำเนินการมานานกว่า 15 ปี โดย NGO และเป็นต้นแบบให้ไทยมาพัฒนาเป็นสายด่วนท้องไม่พร้อม 1663
Women on Web นำเสนอการทำงาน Telemedicine ใช้เว็บไซต์ภาษาต่างๆ รวมทั้งไทย ซักประวัติ และส่งยาจากแพทย์ประเทศหนึ่ง ไปยังประเทศที่เข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ได้ยาก เช่น อินโด มาเลย์ และฟิลิปปินด์ (ในไทย ปัจจุบันมักเป็นชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย)
นายแพทย์ โอฬาริก พูดถึงแพทย์ในไทยที่ให้และไม่ให้บริการเพราะทัศนคติ และกล่าวในตอนท้ายว่า Abortion is health care
Discussion น่าสนใจที่ทั้ง Women on web และ Samsara พูดถึงการส่งยาให้ผู้หญิงที่เลือกยุติ ว่าคือแนวทาง "Harm Reduction" คือ ลดความสูญเสียจากการบาดเจ็บ เสียชีวิตจากทำแท้งไม่ปลอดภัย ด้วยการส่งยาแนะนำ-ดูแล-กำกับการใช้ยาให้ถูกต้องและปลอดภัย
เรื่องการปฏิเสธ (คนไข้) จากจริยธรรมส่วนตัว นายแพทย์โอฬาริกตอบสั้นๆ เพียงว่า If there is a will, there is a way. เราจึงต้องมาช่วยกันแก้ปัญหานี้
หมายเหตุ มีการแยกเสวนาหลายๆ ห้อง
18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 หัวข้อวันนี้น่าสนใจ
PART 1.แนวโน้มอนาคต
มีบทความการสนทนาที่พูดคุยว่า tran humanism เกิดขึ้นแล้วเราจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
ทั้งหากตุ๊กตายาง หุ่นยนต์ มีความรู้สึกนึกคิด หุ่นยนต์เกิดนอกใจ หรือตอนนี้ มีแกะที่เกิดจากมดลูกเทียมคนรวยเท่านั้นที่ จะสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีทางสุขภาพพวกนี้ มีเหตุการณ์ที่รัฐบาลสอดส่อง จับความเคลื่อนไหว ต่างๆ ดังนั้นนักสิทธิมนุษยชนก็ต้องมีความตระหนัก เฝ้าระวังในการใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพ ความเป็นส่วนตัว สิทธิส่วนตัว รวมไปถึงการรักษาความลับของการไข้ telemedicine. แชทบอท AI ว่าข้อมูลผู้ป่วยจะต้องไม่ถูกเปิดเผย
ความก้าวหน้าของโรบอท ณ ตอนนี้ ก่อนหน้านี้เป็นการป้อนโปรแกรม แต่ปัจจุบัน AI สามารถนึกคิด ส่งชุดข้อความเองได้ หากมีการเกิดจากมดลูกเทียมจริง อยากต้องพิจารณานิยามการมีตัวตนของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นอย่างไร จนไปถึง เราจะต้องยุติการตั้งครรภ์ในโรบอทหรือไม่ ในเมื่อ AI เริ่มมีความรู้สึกนึกคิด Facebook มีตา นั่นหมายถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนผ่านทาง แอพลิเคชชั่นต่างๆ AI.เกิดจากการที่มนุษย์สอน ใส่ชุดข้อความต่างๆ ดังนั้น คนที่สร้าง AI. ให้ทำคอนเทนต์ ก็เท่ากับมีแนวคิดละเมิดสิทธิต่างๆ ใครจะเป็นคนตัดสินคนสร้าง AI เหล่านี้
ผู้เข้าร่วมประชุม แสดงความคิดเห็น ในเมื่อ AI สามารถสร้างคอนเทนซ์ได้เอง อาจเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วง เช่น ถ้า AI สร้างหนังโป๊เองจากผู้หญิงสักคน อาจทำให้เกิดปัญหาการฆ่าตัวตายจากปัญหาดังกล่าว อาจต้องหาทางออกโดยที่บริษัทจะต้องมีความรับผิดชอบจากการจัดการข้อมูล หรือจะต้องทำอย่างไรไม่ให้เกิดบริษัทที่ผูกขาดโดยบริษัทใดบริษัทหนึ่ง นักสิทธิมนุษยชน มีความเห็นอย่างไร ต่อการที่เรามีความยินดีจากการแต่งงานเพศเดียวกัน มีการอุ้มบุญที่ถูกต้องตามกฎหมายตามมา แม่อุ้มบุญกลับกลายเป็นเสมือนโรงงานผลิตลูก ถูกลดทอนความเป็นมนุษย์ของแม่อุ้มบุญลงเรื่อยๆ
PART 2
เสวนาเยาวชนรุ่นใหม่กับการผลักดันสิทธิอนามัยการเจริญพันธ์ (ทำแท้งที่ปลอดภัย)
ประเด็นท้าทาย
ในบังคลาเทศ : เยาวชนไม่รู้จะเข้าถึงได้อย่างไร แพทย์ยังไม่เข้าใจวิธีการยุติการตั้งครรภ์ที่ถูกกฎหมาย รัฐบาลขยายอายุการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยจาก 10 wks เป็น 12 wks
ปากีสถาน : ขับเคลื่อนให้เยาวชนผู้พิการทำงานด้านอนามัยการเจริญพันธุ์
ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก ( ฟิจิ ) : เครือข่ายเยาวชนผลักดันลดการตีตราของผู้หญิงที่ทำแท้ง สร้างศักยภาพให้กับเยาวชน
เลบานอน : มองภาพกว้างบริบทเลบานอน มีภาวะเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้น 200% ประสบปัญหาในการหางาน คนข้ามเพศถูกคุกคาม ด้วยความก้าวร้าว มันจึงกลายเป็นเรื่องยากที่จะพูดถึงเสรีภาพ การเข้าถึงยา การขับเคลื่อนงานยาก เพราะชีวิตประจำวันก็ยากอยู่แล้ว
อินเดียเป็นนศ.แพทย์ : ยากในการสื่อสารร่วมกับกลุ่ม LGBTQ ไม่รู้จะต้องสื่อสารอย่างไร แพทย์ต้องเข้าในใจประเด็นเพศภาวะเหล่านี้ มีการเปิดพื้นที่ แชร์ความคิดเห็นร่วมกัน ไม่ด่วนตัดสิน
PART 3
อะไรคือการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายประชากร ลูกคนเดียวในจีน
การทำแท้งถูกควบคุมอย่างเข้มข้น เกิดจากความไม่สมดุล ของชาย หญิง ในปี 90 ปชก.เกิดต่ำ ตอนนี้ มีนโยยาย ลูก 3 คน และไม่มีข้อจำกัดใดๆในเรื่องการทำแท้ง ปีที่ผ่านมามีกฎหมายการทำแท้งจากเหตุผลที่ไม่มี indication ทางการแพทย์ และรัฐบาลคอมมิวนิสจึงไม่ต้องถามความคิดเห็นของประชาชน และกลัวว่าสถานการณ์การทำแท้งจะกลับไปเหมือนเมื่อ ปี 90
ไทย อ.กฤติยา : อัตราการเกิดน้อย ทดแทน ประชากรไม่ทัน คาดว่าจะเหลือ ประชากร 33% มีนโยบาย "มีลูกเพื่อชาติ" จนกลายเป็นวาระแห่งชาติ ขับเคลื่อนเป็น Quick win 100 วัน และรัฐมนตรีมีนโยบายลดการทำแท้งจาก 30000 ราย/ปี ลดลงเหลือ 10000 ราย/ปี
การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย จะช่วยลดการทำแท้งผิดกฎหมายมากยิ่งขึ้น
ข้อถกเถียง
1. ขัดแย้งการส่งเสริมการเกิด
2. การตีตรา เลือกปฏิบัติ
3. การตีความด้านกฎหมาย ทำให้มี รพ.ยุติการตั้งครรภ์น้อย ปชช.ที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์เข้าถึงยาก
หมู่เกาะแปซิฟิค ( ฟิจิ ) : ความเป็นธรรมของอนามัยการเจริญพันธุ์ ภัยธรรมชาติ สึนามิ ภูเขาไฟระเบิด เกิดการย้ายถิ่นของประชากร จนท.สาธารณสุขสมองไหบออกนอกประเทศ กระทรวงสาธารณสุขไม่เห็นความสำคัญของปัญหา
หมู่เกาะโซโลมอน : การตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจละการทำแท้ง จะต้องมีการจัดการเรื่องวางแผนคุมกำเนิด ในคลินิกจะมีแต่แจก condom สถิติการทำแท้ง มีประมาณ20% รัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร
UNFPA : climate change กับการเข้าถึงสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ ในศรีลังกา กลุ่มเปราะบางได้รับผลกระทบมากสุด ผู้หญิงมีอาชีพประมง ที่เป็นวิถีชีวิต ข้อมูลการศึกษาในศรีลังกาน้อย
และเจอปัญหาผู้สูงอายุ และอัตราการเกิดน้อย คล้ายกับประเทศไทย ที่ผู้หญิงไม่อยากมีลูก
จีน - ไทย ปัญหาคล้ายกัน มีการให้ความเป็นธรรมในเรื่องอนามัยการเจริญพันธุ์ ตั้งครรภ์ การผลักดันการทำแท้งที่ถูกกฎหมาย ในภาวะที่ต้องส่งเสริมการมีบุตร จนท.สาธารณสุขที่ดำเนินงานเป็นระดับกลาง -สูงในการผลักดันกฎหมายการทำแท้ง แต่ก็น้อยกว่าจนท.สาธารณสุขที่ไม่อยากให้ทำ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน