คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ร่วมงานโครงการ “พาหมอหาประชาชน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567” ณ โรงพยาบาลกระบุรี อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.04.2567
8
0
แชร์
24
เมษายน
2567

วันที่ 21 เมษายน 2567 ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช นำโดยนายแพทย์วินัย ตันติธนพร ผู้อำนวยการศูนย์ ร่วมงานโครงการ “พาหมอหาประชาชน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567” ณ โรงพยาบาลกระบุรี อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง
โดยมี รศ.นพ.เชิดชัย ตันติศริรินทร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงาน นายนริศ นิรามัยวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวต้อนรับ และ นายแพทย์ศักดิ์ดา อัลภาชน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 11 กล่าวรายงานฯ คณะผู้บริหารเขตสุขภาพที่ 11 หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐและและภาคเอกชน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกแห่ง สาธารณสุขอำเภอทุกอำเภอ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จิตอาสา และประชาชน ร่วมโครงการฯ ณ โรงพยาบาลกระบุรี อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขยายบริการแพทย์เฉพาะทางไปยังประชาชนในพื้นที่ ไม่ต้องรอ และเพื่อเพิ่มโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม สะดวก มีผู้เข้ารับบริการทั้งหมด 1,286 ราย โดยจุดบริการคลินิกแพทย์เฉพาะทาง 21 คลินิก ได้แก่
1. คลินิกเท้าเบาหวาน (Diabetic Foot Clinic)
2. คลินิกตรวจคัดกรองสุขภาพจิตวัยทำงานและผู้สูงอายุ
3. คลินิกตรวจคัดกรองมะเร็งตับ
4. คลินิกตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
5. คลินิกส่งเสริมการมีบุตร
6. คลินิกตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
7. คลินิกคัดกรองมะเร็งลำไส้
8. คลินิกบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
9. คลินิกข้อและกระดูก
10. คลินิกตรวจคัดกรองโรคในการรักษาฟื้นฟู (ธาราบำบัด)
11. คลินิกแพทย์แผนไทย
12. คลินิกตรวจคัดกรองโรคหัวใจ
13. คลินิกคัดกรองการได้ยินในเด็ก
14. คลินิกทันตกรรม
15. คลินิกคัดกรองสมองเสื่อม
16. คลินิกคัดกรองกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
17. คลินิกคัดกรองวัณโรคและกลุ่มโรคเรื้อรัง
18. คลินิกตรวจคัดกรองสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น
19. คลินิกตรวจภูมิแพ้ในเด็ก
20. คลินิกตรวจคัดกรองตาต้อกระจกในผู้สูงอายุ
21. คลินิกตรวจคัดกรองสายตาเด็ก อายุ 3-12 ปี
ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช โดยผู้รับผิดชอบของกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่นจำนวน2ท่าน ร่วมกิจกรรม 5. คลินิกส่งเสริมการมีบุตร
มีผู้มารับบริการจำนวน7คู่ และ 1ราย ซึ่งจากการประเมินสุขภาพพิจารณาประเมินปัญหาเบื้องต้นพบว่า ผู้รับบริการที่มาขอคำปรึกษา มีปัญหาในด้านของดัขนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐาน และการดื่มเครื่องดื่มจำพวกชา กาแฟ และน้ำหวาน รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ซึ่งได้ให้คำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์และมีบุตร โดยให้คู่สมรสตระหนักถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากและแนะนำวิธีปฏิบัติเพื่อเพิ่มโอกาสของการตั้งครรภ์คือ
1. ปรับพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการมีบุตรยาก (fertility-awareness methods) ได้แก่การควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม (ดัชนีมวลกาย หรือ BMI เท่ากับ 18-23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)
งดสูบบุหรี่ เลิกดื่มแอลกอฮอล์หรือ เลิกใช้สารเสพติด พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด และรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
2. ควรเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนตั้งครรภ์ได้แก่รับประทานโฟลิควันละ0.4 มิลลิกรัม(ถ้าไม่เคยตั้งครรภ์หรือมีบุตรเป็น neural tube defect) หรือวันละ 4 มิลลิกรัม (ถ้าเคยตั้งครรภ์
หรือมีบุตรเป็น open neural tube defect) ก่อนตั้งครรภ์3 เดือน
3. ปรึกษาแพทย์ในกรณีที่มีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์หรือโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภูมิแพ้เพื่อจะได้วางแผนการรักษาและปรับยาให้เหมาะสม
4. ไม่แนะนำให้รับประทานอาหารเสริม สมุนไพรและวิตามินอื่น ๆ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลยืนยันถึงประโยชน์ในการเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ไปทั้งในฝ่ายชายและฝ่ายหญิงอย่างมีนัยสำคัญ
5. แนะนำคู่สมรสให้ออกกำลังกายอย่างสมำ่เสมอ อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์นานครั้งละ 30 นาที(รวม 150-300 นาทีต่อสัปดาห์)
6. รายที่มีความเสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยาก ได้แก่ มีประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปวดประจำเดือนรุนแรง หรือมีโรคทางนรีเวชอื่น ๆ เมื่อให้คำแนะนำแล้ว ได้รับการส่งต่อให้เข้ารับการ
ประเมินความเสี่ยงของภาวะมีบุตรยากโดยสูตินรีแพทย์ เพื่อการเข้ารับการรักษาที่รวดเร็วและเหมาะสมจะเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการรักษาภาวะมีบุตรยากได้สูงขึ้น

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน