คุณกำลังมองหาอะไร?

อ.11 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินงานโครงการที่ได้รับการสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

07.06.2567
3
0
แชร์
07
มิถุนายน
2567

วันที่ 7 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00น.-12.00น. ณ ห้องประชุมศิริธรรมนคร ด้วยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส) โดยสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยทางสุขภาพ (สำนัก2) มีจุดมุ่งหมายในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ที่ประกอบด้วยการดำเนินงานของ 4 แผนงาน คือ
1.แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ
2.แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต
3.แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพและการพัฒนาระบบและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ
โดยสำนักฯมอบหมายให้โครงการวิจัยและประเมินผลภายนอกแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศและแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคและพัฒนาระบบยา ดำเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ในระหว่างปี 2564-2566 ที่ดำเนินการโครงการเสร็จสิ้นแล้ว เพื่อดูผลที่เกิดขึ้นจริงหลังสิ้นสุดโครงการผลการประเมินของโครงการต่างๆจะสะท้อนให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ ปัจจัยเงื่อนไขของแผนสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพเพื่อใช้ประกอบในการวางแผนและยกระดับการขับเคลื่อนงานให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทในระยะต่อไป
โดยมีเจ้าหน้าที่จากทีมส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่นจำนวน 3 ท่าน เข้าร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินงานโครงการที่ได้รับการสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ ในประเด็นต่างๆดังนี้
1.ท่านเข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการฯอย่างไร
2.บทบาทหน้าที่ที่ท่านได้รับมอบหมายจากโครงการฯคืออะไร
3.สุขภาวะทางเพศที่ปลอดภัยในทัศนของท่านคืออะไร ควรมีลักษณะอย่างไร
4.สถานการณ์สุขภาวะทางเพศในวัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อมในพื้นที่ของท่านก่อนเข้าร่วมโครงการฯและหลังเข้าร่วมโครงการฯมีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร
5.ท่านคิดว่าท่านสามารถดำเนินกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่นผ่านกระบวนการต่างๆ อาทิการอบรมเชิงปฏิบัติการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดบทเรียนการดำเนินงานเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนระบบดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นให้มีสุขภาวะทางเพศที่ปลอดภัยได้หรือไม่เพราะเหตุใด
6.ท่านคิดว่าโครงการฯเข้าไปหนุนเสริมระบบบริการสุขภาพและระบบบริการทางสังคมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางเพศให้วัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อมได้อย่างไร
7.ท่านคิดว่าเงื่อนไขสำคัญใดบ้างที่ช่วยสนับสนุนที่ทำให้สามารถดำเนิกสรหนุนเสริมระบบบริการสุขภาพและระบบบริการทางสังคมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางเพศให้วัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อมได้
8.ท่านคิดว่าข้อจำกัดใดที่ทำให้การดำเนินการหนุนเสริมระบบบริการสุขภาพและระบบบริการทางสังคมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางเพศให้วัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อมไม่สามารถดำเนินการได้
9.หากต้องการพัฒนาเครือข่ายบริการที่ปลอดภัยเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางเพศให้วัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อมในระบบต่อไปควรดำเนินการอย่างไร
โดยเน้นการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์แนวทางในการดำเนินงานเพื่อสิทธิประโยชน์ของผู้รับบริการและแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อให้การดำเนินงานยั่งยืน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน