คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 ร่วมตรวจราชการและนิเทศงานกระทรวงสาธารณสุข กรณีปกติรอบที่ 2/2567 เขตสุขภาพที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

17.07.2567
0
0
แชร์
17
กรกฎาคม
2567

วันที่ 11 - 12 กรกฎาคม 2567 แพทย์หญิงวรลักษณ์ คีรินทร์นนท์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 11 นำทีมคณะผู้นิเทศศูนย์อนามัยที่ 11 ร่วมตรวจราชการและนิเทศงานกระทรวงสาธารณสุข กรณีปกติรอบที่ 2/2567 เขตสุขภาพที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช ในประเด็นที่กรมอนามัยเกี่ยวข้อง คือ สถานชีวาภิบาล ส่งเสริมการมีบุตร พัฒนาการเด็กสมวัยในกลุ่มเด็กปฐมภูมิ และโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (งานสุขภาพช่องปาก) โดยมี นายแพทย์ศักดา อัลภาชน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 11 เป็นประธานพร้อมด้วย นายแพทย์ธนิศ เสริมแก้ว สาธารณสุขนิเทศก์ และคณะผู้นิเทศ ณ ห้องประชุมชั้น 5 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช
จังหวัดนครศรีธรรมราชมีรูปแบบการดูแลแบบชีวาภิบาลเป็นระบบ มีการจัดตั้งศูนย์ชีวาภิบาลในโรงพยาบาล จำนวน 23 แห่ง (ร้อยละ 100) โดยบูรณาการระบบการดูแลประคับประคอง (Palliative Care) ระบบ Long Term Care ที่มีความเชื่อมโยงไร้รอยต่อตั้งแต่ระดับตติยภูมิ ทุติยภูมิ และปฐมภูมิ ด้วยระบบเทคโนโลยี ได้แก่ Line OA Tele-med Tele-nursing มีคลินิกผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์คุณภาพการบริการ จำนวน 23 แห่ง (ร้อยละ 100) ให้บริการด้านการคัดกรองละดูแลรักษาผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในสองประเด็นหลัก คือ ภาวะพลัดตกหกล้มและภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเข้าเกณฑ์ระยะประคับประคอง/ระยะท้าย ได้รับการดูแลตามแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning) จำนวน 4,241 คน ผลงาน 2,867 คน (ร้อยละ 67.60) เนื่องจากการบันทึกและประมวลผลระดับจังหวัด มีความคลาดเคลื่อน มีการจัดตั้ง “กุฎิชีวาภิบาล”อย่างเป็นรูปธรรม โดยการคัดเลือกวัดที่มีความพร้อมจำนวน 6 แห่ง ดูแล โดยเฉพาะวัดบุญนารอบผ่านการรับรองมาตรฐานสถานชีวาภิบาลจากคณะกรรมการเขตสุขภาพ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 มีรพ.ที่ขึ้นทะเบียน Home Word แล้ว 16 แห่ง (ร้อยละ 69.56) ดำเนินการให้บริการแล้ว 9 แห่ง (ร้อยละ 56.25) พบปัญหาด้านการเข้าถึงยา Strong Opioids ทั้งชนิดกินและฉีด ระบบที่เอื้ออำนวยในการนำยาไปใช้ที่บ้าน
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้บริการผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลรักษาแบบประคับประคองแบบองค์รวมครอบคลุม ทั้ง 4 มิติ คือ กาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ โดยดูแลต่อเนื่องตั้งแต่ระยะแรกจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต รวมถึงผู้สูงอายุ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพมาตรฐานเพิ่มคุณภาพชีวิต ลดภาระค่าเดินทาง การรอคอย ครอบครัวไร้กังวล ลูกหลานวัยทำงานไม่เสียรายได้ .
ปัจจัยความสำเร็จ
1. การขับเคลื่อนและถ่ายทอดนโยบายสถานชีวาภิบาล จากส่วนกลางสู่ผู้ปฏิบัติครอบคลุมทุกระดับ
2. การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย บูรณาการการทำงานอย่างไร้รอยต่อ มีต้นทุนชุมชนและภาคีเครือข่ายที่ เข้มแข็ง
3. มีระบบส่งต่อ-กำกับ-ติดตามจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน สร้างเครือข่ายบุคลากรเชื่อมโยงโรงพยาบาลกับชุมชน ด้วยระบบ SMART COC

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน