คุณกำลังมองหาอะไร?

เจ้

เจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น ร่วมการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

17.07.2567
0
0
แชร์
17
กรกฎาคม
2567

เจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น 2ท่าน ร่วมการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
ประเด็นที่ 7 ส่งเสริมการมีบุตร
จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตสุขภาพที่ 11 รอบที่ 2/2567
ในวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2567
โดยนพ.ศักดา อัลภาชน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 11 นพ.ธนิศ เสริมแก้ว สาธารณสุขนิเทศก์เขตสุขภาพที่ 11
ได้เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอ จากกลุ่มส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2567 และในช่วงบ่ายได้มีการลงเยี่ยมโรงพยาบาลเชียรใหญ่ และ รพ.ทุ่งใหญ่
วันที่ 12 กรกฎาคม 2567 ได้มีการสรุปผลการนิเทศ ในภาพรวม ห้องประชุมชั้น 5 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประเด็นการตรวจราชการ : ส่งเสริมการมีบุตร
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโรงพยาบาล/สถานพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีคลินิกส่งเสริมการมีบุตร
: ร้อยละ 75 ของรพศ./รพท.ที่สามารถจัดบริการฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (IUI)
: ผู้ได้รับบริการรักษาภาวะมีบุตรยาก 2,700 คน (ประเทศ)
วิเคราะห์สถานการณ์
วิเคราะห์สถานการณ์สภาพปัญหาสุขภาพ
สถานการณ์จำนวนทารกเกิดมีชีพในจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ. 2564 – 2566 พบจำนวนทารกเกิด
มีชีพ 13,107 คน, 12,149 คน และ 12,414 คน ตามลำดับ และมีแนวโน้มลดลง ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ของ
ประเทศไทย โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ให้ความสำคัญและขับเคลื่อนงานตามนโยบายส่งเสริมการ
มีบุตรเพื่อเพิ่มจำนวนการเกิดที่มีคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง ได้ดำเนินการจัดตั้งคลินิกส่งเสริมการมีบุตรทุกโรงพยาบาล
ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในทุกโรงพยาบาล (23 โรงพยาบาล) คิดเป็นร้อยละ 100 ของโรงพยาบาล
ทั้งหมด และได้นำกระบวนการจัดบริการการดูแลรักษาภาวะมีบุตรยากในโรงพยาบาลแต่ละระดับมาใช้โดย
โรงพยาบาล MD Level 1 ได้มีการจัดบริการการให้คำปรึกษาเรื่องการมีบุตร การวางแผนครอบครัว การประเมินและ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ และการส่งต่อ สำหรับโรงพยาบาล MD Level 2
จำนวน 4 โรงพยาบาล มีการจัดบริการตาม Level 1 และสามารถให้บริการ การประเมินสาเหตุและการสืบค้นหา
สาเหตุของภาวะมีบุตรยากเบื้องต้น การรักษาโรคที่เป็นสาเหต การกระตุ้นไข่และเหนี่ยวนำการตกไข่ รวมถึงมีการฉีด
อสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI : Intrauterine insemination) ซึ่งผลการดำเนินงานในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา มีผู้เข้ารับบริการใน
MD Level 1 จำนวน 356 คน มีผลสำเร็จ หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวน 1 คู่ และโรงพยาบาล MD Level 2 ที่มี
สูตินรีแพทย์ และมีความพร้อมในการให้การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ การกระตุ้นและการเหนี่ยวนำการตกไข่และการฉีด
อสุจิเข้าโพรงมดลูก (IUI : Intrauterine insemination) ซึ่งได้ดำเนินการจัดให้บริการแล้ว จำนวน 2 โรงพยาบาล ได้แก่
โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช มีผู้เข้ารับบริการ จำนวน 17 คน มีผลสำเร็จสามารถตั้งครรภ์ได้ จำนวน 1 คน รวมถึง
โรงพยาบาลสิชลได้เริ่มดำเนินการให้บริการการฉีดอสุจิเข้าโพรงมดลูก ซึ่งมีผู้เข้ารับบริการแล้ว จำนวน 1 คน จำนวน
โรงพยาบาลทั่วไปได้มีการดำเนินการให้บริการการฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI : Intrauterine insemination) คิดเป็น
ร้อยละ 50 ซึ่งยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ร้อยละ 75 แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และคาดว่าในปี 2568 จะมีบริการการฉีดอสุจิเข้าโพรง
มดลูก (IUI : Intrauterine insemination) ครบทุกโรงพยาบาล ซึ่งอีก 2 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลท่าศาลาและ
โรงพยาบาลทุ่งสง ขณะนี้กำลังดำเนินการในเรื่องของสถานที่, แผนการจัดหายาและเวชภัณฑ์ และมีการให้คำปรึกษา
ตรวจรักษา และนัดหมายผู้รับบริการไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช มีความมุ่งมั่น
ขับเคลื่อนงานตามนโยบายสู่คุณภาพอย่างต่อเนื่อง และมี ผลการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นในแต่ละกิจกรรมบริการ????บริกร??
แผนการดำเนินงาน/กิจกรรมที่ดำเนินการ
รูปแบบการดำเนินงานคลินิกส่งเสริมการมีบุตร
1. จัดตั้งคลินิกส่งเสริมการมีบุตรจำนวน 23 โรงพยาบาล ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง โดย
1.1 ประสานและขับเคลื่อนการจัดตั้งคลินิกส่งเสริมการมีบุตรผ่านคณะกรรมการ MCH Borad
จังหวัดนครศรีธรรมราช ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงานทั้ง on site และ on line
1.2 งานแม่และเด็กสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับประธานการดำเนินงาน
คลินิกส่งเสริมการมีบุตร ติดตามการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูลและหาโอกาสพัฒนาอย่างต่อเนื่องทุก 3 เดือน
1.3 งานแม่และเด็กสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ออกแบบการรายงานข้อมูลการ
ดำเนินงาน ผ่าน google from กำหนดการรายงานข้อมูลทุกวันพฤหัสบดี และวิเคราะห์ข้อมูล โดยงานแม่และเด็ก
ทุกเดือน เพื่อหาโอกาสพัฒนา
1.4 มีการประชาสัมพันธ์คลินิกส่งเสริมการมีบุตร โดยทุกโรงพยาบาลจัดทำ one page เป็นสื่อ
ประชาสัมพันธ์การให้บริการคลินิกส่งเสริมการมีบุตร ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น กลุ่มไลน์ กลุ่ม Facebook
แม่และเด็ก เพจกลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ และข่าวประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช
1.5 งานแม่และเด็กร่วมกับกลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช
และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราชา เพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการคลินิกส่งเสริมการมีบุตร มีการ
จัดประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และกระบวนการดำเนินงาน เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุมอาเซียน
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช กำหนดจัดกิจกรรม Kick off ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ภายใต้
สโลแกน “14 กุมภาพันธ์ เดือนแห่งความรัก” โดยมีกิจกรรมให้คำปรึกษา เจาะเลือดตรวจหาเชื้อเอชไอวี ซิฟิลิส ไวรัส
ตับอักเสบ บี และ ซี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และบริการให้คำปรึกษาส่งเสริมการมีบุตร ซึ่งมีการออกแบบ สื่อการ
ประชาสัมพันธ์ตามสโลแกน 14 กุมภาพันธ์ เดือนแห่งความรัก และใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ในทุกโรงพยาบาล
2. ขับเคลื่อนการจัดบริการฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก(IUI) ใน 4 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลมหาราช
นครศรีธรรมราช โรงพยาบาลสิชล โรงพยาบาลท่าศาลา และโรงพยาบาลทุ่งสง โดยจัดประชุม และประสานงานหน่วย
บริการที่เกี่ยวข้อง ผ่านหนังสือราชการให้ดำเนินการจัดบริการฉีดน้ำเชื้ออสุจิเข้าสู่โพลงมดลูก(IUI) พร้อมติดตามและ
ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
3. งานแม่และเด็ก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช มีแผนนำข้อมูลผลการดำเนินงาน ปี 2567 มา
วิเคราะห์หาโอกาสพัฒนา ได้แก่ ข้อมูล ผลการรับบริการคลินิกส่งเสริมการมีบุตรต่อการตั้งครรภ์ ข้อมูลปัญหา ความต้องการ
และทัศนคติ การจัดบริการคลินิกส่งเสริมการมีบุตร ในทุกโรงพยาบาล เป็นต้น
ผู้สรุปรายงานและร่วมทีมตรวจราชการ นางสาวปรียานุช มณีโชติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางพจณา โชโชล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ร่วมประชุมตรวจราชการ
14/7/2567

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน