กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
ระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม พ.ศ.2567 นางสาวสุดสวาทสวัสดิ์ ภูมิพันธ์ เภสัชกรชำนาญการ งานเภสัชกรรม กลุ่มงานเทคนิคบริการและวิชาการ เข้าร่วมประชุมวิชาการเภสัชศาสตร์ ประจำปี 2567 จัดโดย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และชมรมเภสัชกรภาคใต้ โดยมีหัวข้อในการประชุมดังนี้
1. ประชุมสามัญชมรมเภสัชกรภาคใต้ ประจำปี 2567
2. พิธีมอบรางวัลเภสัชกรภาคใต้ดีเด่น ประจำปี 2567
3. Seamless Pharmacists in Community Pharmacy: Roadmaps and Roadblocks (เภสัชกรไร้รอยต่อในร้านขายยาชุมชน:แผนงานและอุปสรรค) โดย
• นพ.ศุภฤกษ์ ถวิลลาภ รองผู้อำนวยการสำนักสุขภาพดิจิทัลสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
• นพ.อนุชิต หิรัญกิตติ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
• ภญ.สมฤทัย สุพรรณกูล สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
• ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์
ภาควิชาบริบาลแกสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย
ศูนย์วิจัยนโยบายและผลลัพธ์ทางสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
• ภญ.รุ่งนภา กงวงษ์ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอบุลราชธานี
ดำเนินรายการ โดย ภก.สมพงษ์ อภิรมย์รักษ์ นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
4. บรรยายพิเศษ โดย องค์การเภสัชกรรมเรื่อง การเลิกบุหรี่ ด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ Cytisinicline Tablets 1.5 mg (CYTISINE GPO) ซึ่งมีข้อบ่งใช้สำหรับเลิกบุหรี่ รักษาภาวะติดนิโคดิน
5. บรรยายพิเศษ เรื่องวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า โดย บริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด
6. Seamless Pharmacists:Elevating Communication Skills for Enhanced Patient Care (เภสัชกรไร้รอยต่อ:การยกระดับทักษะการสื่อสารเพื่อการดูแลผู้ป่วยขั้นสูง) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
7. การประกวดการนำเสนอผลงานทางวิชาการ ในรูปแบบ poster / oral presentation
8. Empowering Pharmacists in Integrating Pharmacogenomics and
Precision Medicine for Seamless Patient Care (เสริมศักยภาพเภสัชกรในการบูรณาการเภสัชพันธุศาสตร์และยาที่แม่นยำสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่ไร้รอยต่อ) โดยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ชลภัทร สุขเกษม คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
8. Navigating the Landscape of Artificial Intelligence in Medicine:
Pearls and Pitfalls (การนำทางภูมิทัศน์ของปัญญาประดิษฐ์ในการแพทย์: Pearls and Pitfalls) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มยุรี ศรีกุลวงศ์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
9. Using Al to Advance Research for pharmacists: Sharing Experiences (การใช้ AIเพื่อการวิจัยขั้นสูงสำหรับเภสัชกร: แบ่งปันประสบการณ์) โดย ภญ.ฐิติมา ผลึกเพชร
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่