กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
วันที่ 2 สิงหาคม 2567 ผู้แทนงานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 เข้าร่วมการประชุม
เชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียบรู้การสร้างพื้นที่ต้นแบบจัดการความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก
ซึ่งสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการสร้างชุมชนพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก ผ่านแพลตฟอร์มสาสุขอุ่นใจ ภารกิจ ครอบครัวฟันดี สู่ชุมชนฟันดี โดยได้รับเกียรติจาก ทพ. ดำรง ธำรงเลาหะพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย เป็นประธานเปิดการประชุม มีทันตบุคลากร จาก ศูนย์อนามัยที่ 1-12 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และผู้สนใจจากทั่วประเทศ เข้าร่วมการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล จำนวน 100 user
ที่ประชุมนำเสนอผลการดำเนินงานสร้างชุมชนพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก ผ่านแพลตฟอร์ม
สาสุขอุ่นใจ ภารกิจ ครอบครัวฟันดี สู่ชุมชนฟันดี โดยมีจำนวนครอบครัวรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก รวมทั้งประเทศ 1,713 ครอบครัว เขตสุขภาพที่ 11 มีผลการดำเนินงานครอบครัวฟันดี สู่ชุมชนฟันดี จำนวน 319 ครอบครัว ซึ่งสูงเป็นอันดับที่ 2 เมื่อเทียบกับเขตสุขภาพอื่นๆ (สูงสุดที่เขตสุขภาพที่ 8 จำนวน 475 ครอบครัว และต่ำสุด คือ เขตสุขภาพที่ 3 และ 5 จำนวน เขตละ 16 ครอบครัว) และเขตสุขภาพที่ 11 มี ชุมชน/พื้นที่ต้นแบบจัดการความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก จำนวน 11 แห่ง ซึ่งสูงที่สุดเมื่อเทียบกับเขตสุขภาพอื่นๆ โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ต้นแบบสูงที่สุดคือ 8 แห่ง ใน 11 แห่ง เนื่องจาก นพ.สสจ. สุราษฎร์ธานี กำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญที่พื้นที่ จะต้องดำเนินการ
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน 3 พื้นที่ โดยผู้แทน รพ.สต. บ้านยาง จ. สุราษฎร์ธานี รพ.เรณุนคร จ.นครพนม และ ศูนย์อนามัยที่ 1 นำเสนอการดำเนินงานในพื้นที่ พร้อมปัจจัยความสำเร็จ โดยในพื้นที่ชนบท ปัจจัยสำคัญ มาจาการกำหนดเป็นนโยบายของผู้บริหารในพื้นที่ การมอบหมายภารกิจขัดเจน ผ่าน อสม. มีการกำกับติดตามสม่ำเสมอ การชื่นชมเสริมพลังให้ อสม. ในขณะที่พื้นที่ชุมนเมือง กลุ่มเป้าหมายสามารถดำเนินกิจกรรมได้เอง หากมี Digital Litercy ดังนั้นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่าน Influenzer ในชุมชน น่าจะเป็นกลยุทธ์ ที่เหมาสม และเชิญชวนผู้มาร่วมกิจกรรมได้มากขึ้น รวมทั้งควรมีการประเมินผล ก่อน และหลังเสร็จสิ้นภารกิจ
โดยผู้จัดการประชุม จะนำข้อเสนอ ไปปรับกลวิธีการทำงานในปีต่อไป รวมทั้งการเน้น Key Massage ที่สำคัญ คือ การแปรงฟันก่อนนอนทุกวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ เนื่องจาก ผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ปี 2566 พบว่า ทุกกลุ่มวัยมีการแปรงฟันก่อนนอนลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กอายุ 12 ปี แปรงฟันก่อนนอนทุกวัน เพียงร้อยละ 57.8 เท่านั้น
ยิ่งกว่านั้นยังพบการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ลดลง ทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 60-74 ปี มีผู้ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เพียงร้อยละ 65.3 ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องเร่งให้ ประชาชนมีความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์