คุณกำลังมองหาอะไร?

ถ่า

ถ่ายทำถอดบทเรียนจัดการความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมเขตสุขภาพที่ 11 ประเด็น การดำเนินงานการจัดบริการด้านสุขภาพ “สถานชีวาภิบาลในชุมชนและองค์กรศาสนา” จังหวัดชุมพร

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

30.08.2567
65
0
แชร์
30
สิงหาคม
2567
สถานชีวาภิบาลในชุมชนและองค์กรศาสนา” จังหวัดชุมพร เขตสุขภาพที่11
ถ่ายทำถอดบทเรียนจัดการความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมเขตสุขภาพที่ 11 ประเด็น การดำเนินงานการจัดบริการด้านสุขภาพ “สถานชีวาภิบาลในชุมชนและองค์กรศาสนา” จังหวัดชุมพร วันที่ 26-28 สิงหาคม 2567 ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร ลงพื้นที่ถ่ายทำถอดบทเรียนจัดการความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมเขตสุขภาพที่ 11 ประเด็น การดำเนินงานการจัดบริการด้านสุขภาพ “สถานชีวาภิบาลในชุมชนและองค์กรศาสนา” จังหวัดชุมพร เพื่อจัดทำสื่อสารคดี รายการ Bird Eye View เผยแพร่ผลการดำเนิน หรือรูปแบบการดำเนินงานที่ประสบผลสำเร็จ เป็นต้นแบบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ภาคีเครือข่ายในเขตสุขภาพที่ 11 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร ภายใต้การการนำของ นพ.อนุ ทองแดง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชุมพร ได้ดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ในการยกระดับการจัดบริการด้านสุขภาพ สำหรับการจัดตั้ง “สถานชีวาภิบาลในชุมชนและองค์กรศาสนา” มีวัตถุประสงค์ให้เป็นสถานที่ให้บริการสาธารณสุข โดยองค์กรศาสนาหรือองค์กรภาคประชาชน ภาคเอกชน เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงติดบ้าน ติดเตียง ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง เป็นการดูแลต่อเนื่องอย่างเป็นองค์รวมตั้งแต่ระยะแรก จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ครบทั้ง 4 มิติคือ กาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ นับตั้งแต่การดูแลในโรงพยาบาล จนถึงการดูแลที่บ้าน โดยไม่ถูกทอดทิ้งไว้เพียงลำพัง ลูกหลานสามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้ตามปกติ ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถดูแลที่บ้านได้ หรือกลุ่มของพระสงฆ์อาพาธ “สถานชีวาภิบาลในวัดหรือกุฏิชีวาภิบาล” ก็จะเป็นที่พึ่งสุดท้าย มีพระคิลานุปัฏฐากดูแลแบบประคับประคองตามหลักพระธรรมวินัย ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แล้ว ยังช่วยในเรื่องการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอีกด้วย รุ่งนภา สวัสดิ์ภักดี หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร ได้นำนโยบายสู่การปฏิบัติ และกำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนงาน โดยใช้กลยุทธ์การพัฒนา “คน เงิน ของ” เพื่อรองรับการจัดบริการ เริ่มตั้งแต่ 1)การบริหารจัดการกำลังคน มีการประชุมชี้แจงนโยบายให้กับผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ และภาคีเครือข่าย ให้เข้าใจเป็นทิศทางเดียวกัน กำหนดพื้นที่ต้นแบบอำเภอละ 1 แห่ง จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานทุกระดับ พร้อมจัดทำแผนงานโครงการขับเคลื่อนงานฯ มีการมอบหมายงานและพัฒนากำลังคนที่เกี่ยวข้องให้มีทักษะ ความพร้อมสำหรับการจัดบริการ เช่น CM/CG/จิตอาสาการดูแลระยะท้าย และพระคิล นุปัฏฐาก พร้อมทั้งประสานสิบทิศกับภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน 2.การจัดหาวัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็นใช้ในสถานชีวาภิบาล ได้รับการสนับสนุนจากแม่ข่าย ธนาคารกายอุปกรณ์ และภาคประชาชนร่วมกันบริจาค ทำให้มีความพร้อมในการจัดบริการ 3.งบประมาณ ช่วงแรกได้รับการสนับสนุนจาก รพ.แม่ข่าย และรับบริจาคจากภาคเอกชนและประชาชน ต่อมาคณะกรรมการประเมินระดับเขตสุขภาพ ประเมินมาตรฐาน 3 องค์ประกอบของกรมอนามัยผ่านเกณฑ์ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 3 เป็นสถานบริการในสังกัด ก็จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดบริการด้านสุขภาพ ปัจจุบัน ชุมพร มีสถานชีวาภิบาลในชุมชนครอบคลุมทุกอำเภอ 8 แห่ง ในองค์กรศาสนา 6 แห่ง ผ่านการประเมินโดยเขต 4 แห่ง ได้รับการขึ้นทะเบียนโดย สปสช. จำนวน 2 แห่ง ปัจจัยความสำเร็จของจังหวัดชุมพร ผู้บริหารทุกระดับให้ความสำคัญ และให้การสนับสนุน ติดตามเสริมพลังอย่างต่อเนื่อง ระบบพี่ที่ดูแลน้องมีการพี่เลี้ยงจาก สสจ./รพ./สสอ. และที่สำคัญ “การมีส่วนร่วม” ของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานอย่างดียิ่ง เป็นจุดเด่นและเป็นอัตลักษณ์ของคนชุมพร “กตัญญุตาต่อผู้สูงวัย ให้ชราแบบสุขใจ และจากไปอย่างสุขสงบ”
 
ภาพกิจกรรมเพิ่มเติม : FB >>https://www.facebook.com/media/set/?vanity=hpc11nakhonsi&set=a.1240736080385962

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน