กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
ัวันที่ 30 ตุลาคม2567 -1พฤศจิกายน 2567กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพร่วมกับองค์การอนามัยโลกจัดอบรมเรื่องการประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมืองสุขภาพดี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการแนวคิดการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและสามารถประยุกต์ใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงานเมืองสุขภาพดีและเพื่อการสร้างเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานแต่ละภาคส่วนในการจัดการปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยในเมืองสุขภาพดี ณ โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น พลัส แวนดา แกรนด์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีผู้เข้าร่วมประมาณ 60 คน โดยมีนายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัยและ Dr.Jos Vandelaer ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย เป็นประธานในการเปิดการอบรมในครั้งนี้ ซึ่งมีการมอบรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการยกระดับพัฒนาสู่เมืองสุขภาวะขององค์การอนามัยโลก จำนวน 4 แห่งได้แก่ กรุงเทพมหานคร เทศบาลเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา เทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรีและเทศบาลตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีรายละเอียดเนื้อหาในการอบรมดังนี้
1.แนวคิดของการพัฒนาเมืองสุขภาพดีในระดับโลกและระดับภูมิภาคและความสำคัญของข้อมูลสุขภาพของเมือง โดย ดร.สุวจี กู๊ดส์ ที่ปรึกษาภูมิภาคด้านการสร้างเสริมสุขภาพและปัจจัยทางคมกำหนดสุขภาพ องค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคเอเวียใต้และตะวันออก
2.การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Impact Assesment and Sustainable Development )โดย
นางสาวนัยนา ใช้เทียมวงศ์ ผู้อำนวยการกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
3.ขั้นตอนและกระบวนการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ : การกลั่นกรอง (Screening )และการกำหนดขอบเขต (Scoping) โดย ผศ.ดร.วิธิดา พัฒนอิสรานุกูล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
4.การแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพสุขภาพ : การกลั่นกรอง (Screening )และการกำหนดขอบเขต (Scoping) การกลั่นกรองโfยใช้แบบ Screening checklist และการกำหนดขอบเขตตามประเด็นปัญหาของเมือง ( มลพิษทางอากาศ การจัดการขยะ น้ำเสีย น้ำประปา น้ำบริโภค ภัยพิบัติทางธรรมชาติและน้ำท่วม
5.การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakehoder mapping) โดย Miss Foo Jia Xin
Regional laboratory on Urban Govermance for Health & Well-being (UGHW)
6.การแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ การประเมิน (Appraisal) และการเก็บรวบรวมข้อมูล (profiling)
7.การแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ การประเมิน (Appraisal) เครื่องมือการประเมินเชิงคุณภาพ (Quality tool)
8.การติดตามตรวจสอบและประเมินผล (Monitoring and Evaluation ) โดย ผศ.ดร.วิธิดา พัฒนอิสรานุกูล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
9.การแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ การออกแบบคณะทำงาน/ทีมงาน HIA และการจัดทำแผนดำเนินงานประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
10.นำเสนอกิจกรรมกลุ่ม แผนดำเนินงานประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
ในการนี้ทางกลุ่มพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่11 มีผู้เข้าร่วมดังนี้
1.นางสาวจิราพร เหมทานนท์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
2.นางสาวทิพย์รัตน์ ดัชนี นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
เอกสารการประชุม
https://drive.google.com/drive/folders/11HOpLRDUf_x5gA6qyRZthG4uPtl6NrLo