คุณกำลังมองหาอะไร?

งา

งานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11ตรวจราชการและนิเทศงาน รอบ 2 ปี 2568 ในโครงการเกี่ยวกับพระราชวงศ์ หัวข้อโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ของจังหวัดพังงา ผ่านระบบ VDO Conference โปรแกรม ZOOM

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

26.06.2568
6
0
แชร์
26
มิถุนายน
2568

งานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 ร่วมกับผู้นิเทศงานตรวจราชการจากศูนย์ควบคุมโรคที่ 11 กรมควบคุมโรค ศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 กรมสุขภาพจิต และ ผู้แทนกองบริหารสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตรวจราชการและนิเทศงาน รอบ 2 ปี 2568 ในโครงการเกี่ยวกับพระราชวงศ์ หัวข้อโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ของจังหวัดพังงา ในวันพุธ ที่ 26 มิถุนายน 2568 โดยมีผู้รับผิดชอบงานโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ของจังหวัดพังงา และ เรือนจำในจังหวัดพังงา ร่วมรับการนิเทศ ทั้งที่ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา และผ่านระบบ VDO Conference โปรแกรม ZOOM  

 เรือนจำจังหวัดพังงา เป็นเรือนจำขนาดกลาง มีจำนวนผู้ต้องขัง 2,224 คน ( ณ 15 มิถุนายน 2568) และอยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลแม่ข่าย คือ โรงพยาบาลพังงา เรือนจำอำเภอตะกั่วป่า เป็นเรือนจำขนาดเล็ก มีจำนวนผู้ต้องขัง 675 คน ( ณ 24 มิถุนายน 2568) และอยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลแม่ข่าย คือ โรงพยาบาลตะกั่วป่า และ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 10 พังงา มีจำนวนเด็ก 34 คน อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลจังหวัดพังงา

 

ทั้งเรือนจำจังหวัดพังงา และ เรือนจำอำเภอตะกั่วป่า มีการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปาก และระบบบริการ

ทันตกรรม อย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันเรือนจำทั้ง 2 แห่ง มีความพร้อมด้านสถานที่และครุภัณฑ์ ทั้งคลินิกทันตกรรมเป็นสัดส่วน

ยูนิตทันตกรรม (Dental Unit) ครุภัณฑ์ในการให้บริการทันตกรรมพื้นฐานครบถ้วน มีระบบการจัดบริการโดยทีมทันตบุคลากรแม่ข่ายให้บริการทันตกรรมขั้นพื้นฐานตรวจ ขูดหินน้ำลาย อุดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ เรือนจำจังหวัดพังงา ได้รับพิจารณางบในการปรับปรุงระบบระบายอากาศแล้ว ส่วนเรือนจำ อำเภอตะกั่วป่า อยู่ในการพิจารณางบประมาณในแผนขาขึ้น ทำให้ ผู้ต้องขังได้รับบริการทันตกรรรมครอบคลุมร้อยละ 45.90 และ 47.34 ตามลำดับ (ผลงานบริการในปีงบ 2568 ณ 23 มิถุนายน 2568) จากการพัฒนาการทำงานมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดนวัตกรรมบริการ เช่น เรือนจำจังหวัดพังงา ปรับเปลี่ยนวิธีการบันทึกข้อมูลการตรวจฟันรายบุคคล ในรูปแบบการใส่สูตรใน excel เพื่อให้สรุปรายงานสะดวกรวดเร็ว และ ค้นหาผู้ป่วยที่ยังมีความจำเป็นในการรับบริการครั้งต่อไปได้ง่าย ส่วน เรือนจำอำเภอตะกั่วป่า ออกแบบการใช้ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิต (Oral health related quality of life) เช่น การปวดฟัน มาประกอบ กับ ค่าดัชนีผุ อุดถอน (DMFT) ทั่วไป เพื่อประกอบการคัดกรอง และออกแบบระบบการลงคิวทำฟัน โดยเพิ่มคิวคนปวดฟันเข้าระบบบริการเป็นหลัก ทำให้ลดความทุกข์ทรมาน และเพิ่มคุณภาพชีวิต ของผู้ต้องขังมากขึ้น เนื่องจากกลุ่มผู้ต้องขังส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีประวัติใช้ยาเสพติดมาก่อน จึงมีการลุกลามของโรคฟันผุที่รุนแรง เพื่อควบคุมความรุนแรงของโรค ทีมทันตบุคลากร ปรับแผนการรักษา โดยใช้ฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูง ในการควบคุมการลุกลามของโรค พร้อมกับการอุดฟันแบบ SMART technique และจัดระบบการแปรงฟันแห้ง เพื่อให้การรักษา ควบคุมโรคได้ครบวงจรมีคุณภาพมากขึ้น นอกจากการรักษา ที่โดดเด่นแล้ว ในเรือนจำอำเภอตะกั่วป่า ยังมีการทำวิจัยค้นหาปัจจัยกำหนดสุขภาพ ที่สอดคล้องกับบริบทในเรือนจำ เรื่อง “โครงการพัฒนาระบบบริการทันตกรรม โดยชุมชนมีส่วนร่วม เรือนจำอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา”เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทความเป็นอยู่ การใช้ชีวิต ในเรือนจำอีกด้วย

สำหรับศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 10 พังงา ดูแลโดยโรงพยาบาลพังงา และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ระดมทีมให้บริการ ตรวจ ขูดหินน้ำลาย อุดฟัน ถอนฟัน เชิงรุกในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน โดยใช้หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ เพื่อให้บริการเด็กทุกราย ปีละ 2 ครั้ง 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน