กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
วันที่ 25 กรกฎาคม 2568 นายแพทย์สิทธิพงษ์ ยิ้มสวัสดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 11 มอบหมายให้กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยเรียนวัยรุ่นนำโดย ดร.วันชัย เยี่ยงกุลเชาว์ และทีมร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร เยี่ยมเสริมพลังและประเมินรับรองโรงพยาบาลตามมาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ฉบับ พ.ศ. 2563 และประเมินรับรองมาตรฐานการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับอำเภอ ณ ห้องประชุมชั้น 2 โรงพยาบาลปากน้ำเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
ซึ่งได้รับการต้อนรับจากแพทย์หญิงสุดฤทัย รัตนโอภาส ผู้อำนวยการโรงพยาบาลปากน้ำเมืองชุมพร พร้อมด้วยสาธารณสุขอำเภอเมืองชุมพรและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าพนักงานอาวุโส สสอ.เมืองชุมพร นักพัฒนาชุมชนตำบลนาชะอัง นวก.สสอ.สวี นวก.โรงพยาบาลสวี พยาบาลโรงพยาบาลทุ่งตะโก ประธานชมรม อสม.ตำบลปากน้ำ ประธานศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลปากน้ำ ประธานสภาเด็กและเยาวชนตำบลปากน้ำ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ปลัด อบต.ปากน้ำ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลปากน้ำ ครูโรงเรียนบ้านปากน้ำ(เผดิมจีนนาวาสงเคราะห์) ครูโรงเรียนศรียาภัย2 ตัวแทนมูลนิธิการศึกษาประกายแสง สาขาชุมพร หัวหน้าพยาบาล หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม พยาบาลคลินิกผู้ป่วยนอก พยาบาลกลุ่มงานปฐมภูมิและองค์รวม จำนวนทั้งหมด 30 คน เข้าร่วมรับการประเมินและแลกเปลี่ยนทั้งสองมาตรฐาน ซึ่งทางโรงพยาบาลมีนโยบายการดำเนินงานที่ชัดเจน และเผยแพร่นโยบายดังกล่าวให้แก่ทุกภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ขับเคลื่อนงานวัยรุ่นและเยาวชน มีการให้บริการทั้งเชิงรับและเชิงรุกทั้งในชุมชนและสถานศึกษา ด้านเชิงรับ มีคลินิกวัยรุ่นที่เปิดให้บริการทุกวันและเวลาราชการ และมีช่องทางการติดต่อนอกเวลาราชการด้วย ทำให้เข้าถึงได้ง่าย ปลอดภัย มีความเป็นส่วนตัว รักษาความลับของผู้เข้ารับบริการ และด้านเชิงรุก มีการจัดกิจกรรมโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพ และทักษะการดำเนินชีวิตให้แก่แกนนำวัยรุ่นและเยาวชน รวมถึงอาสาสมัครประจำหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการสร้างเครือข่ายแกนนำเยาวชนเพื่อป้องกันท้องวัยรุ่นตำบลปากน้ำ ประจำปี 2568 กิจกรรมห้องเรียนพ่อแม่ ห้องเรียนเยาวชน ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทั้งภายในและภายนอกจังหวัด เช่น งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปากน้ำ กองทุนหลักประกันทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลปากน้ำชุมพร มูลนิธิแพธทูเฮลท์ เป็นต้น ส่งผลให้อัตราการคลอดมีชีพในวัยรุ่นของพื้นที่มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับปี 2567 และอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำของหญิงที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ในพื้นที่เป็น 0 3 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2565-2567 ซึ่งถือได้ว่าเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของพื้นที่ที่ทำให้วัยรุ่นและเยาวชนได้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลยังอยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลงานวิจัย R2R ”ประสิทธิผลของโครงการการเลิกบุหรี่ไฟฟ้าในนักเรียนการศึกษานอกโรงเรียนปากน้ำชุมพร Effectiveness of the E-cigarette cessation project in non-formal education student of Paknam Chumphon“ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อยอดการให้บริการวัยรุ่นและเยาวชนต่อไป