คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่

าวประชาสัมพันธ์

อัพเดททุกสาระ ข่าวสารเพื่อสุขภาพ มั่นใจไม่ตกเทรนด์

01. ข่าวสารศูนย์อนามัยที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช
กรมอนามัย
19
เมษายน
2567
19.04.2567
กลุ่มพัฒนาอนามัยแม่และเด็กจัดประชุมพัฒนาทีมประเมินโรงพยาบาลตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กสำหรับสถานบริการและเครือข่าย เขตสุขภาพที่ 11

วันที่ 18 เมษายน 2567 กลุ่มพัฒนาอนามัยแม่และเด็กจัดประชุมพัฒนาทีมประเมินโรงพยาบาลตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กสำหรับสถานบริการและเครือข่าย เขตสุขภาพที่ 11 ผ่านระบบ VDO Conference Cisco Webex ณ ห้องประชุมสิริธรรม 2

วิ

ดีโอ

& สื่อมัลติมีเดีย

26.03.2567
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ขับเคลื่อน เศรษฐกิจสุขภาพ นักท่องเที่ยวปลอดภัย “Safety Phuket Island Sandbox”

วันที่ 24 มีนาคม 2567 นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารในเขตสุขภาพที่ 11 ร่วมงาน ถนนคนเดินหลาดใหญ่ จ.ภูเก็ต พร้อมมอบป้าย Street Food Good Health “อาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ” เพื่อสร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยวคนไทยและต่างชาติ ณ ถนนคนเดินหลาดใหญ่ภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ซึ่ง กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสำคัญด้านการสร้างเศรษฐกิจ ในประเด็นที่ 12 เศรษฐกิจสุขภาพ และประเด็นที่ 13 นักท่องเที่ยวปลอดภัย โดยให้กรมอนามัยยกระดับการท่องเที่ยวปลอดภัย ส่งเสริมเศรษฐกิจสุขภาพ ภายใต้นโยบายการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (PP&P Excellence) โดยพัฒนาต้นแบบอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health) เพื่อเน้นย้ำให้ ผู้จำหน่ายอาหารมีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ ปรุง-ประกอบ และจำหน่ายอาหาร สร้างความมั่นใจด้านความสะอาดปลอดภัยให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว สำหรับเขตสุขภาพที่ 11 ได้ยกระดับระบบการจัดการสุขาภิบาลอาหารและอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวไทย โดยมีอาหารริมบาทวิถีผ่านเกณฑ์มาตรฐานการพัฒนาและยกระดับอาหารริมบาทวิถี ระดับดีขึ้นไป จำนวน 8 แห่ง และจังหวัดภูเก็ต จำนวน 1 แห่ง คือ ถนนคนเดินหลาดใหญ่ภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

อั

ลบั้มภาพ

พร้อมอัพเดท

สาระสุขภาพทันสมัยให้คุณเข้าใจง่าย

ไม่ตกเทรนด์!

calendar Cover for 2024 / 04
ร่

วมแสดงความคิดเห็น

ความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ศูนย์อนามัยที่ 11
ดูผลโหวต

อินโฟกราฟิก

19.04.2567
ส่งเสริมสุขภาพเด็กไทย ลดอ้วน ลดโรค

ช่วงปิดเทอมพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเด็กเปลี่ยนไป การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการดูโทรทัศน์ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ และการใช้โซเชียลมีเดีย พ่อแม่ผู้ปกครองควรใส่ใจดูแลสุขภาพของลูกหลาน ส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ 1.ส่งเสริมให้เด็กวิ่งเล่น ออกกำลังกาย เช่น ปั่นจักรยาน กระโดดเชือก ทำงานบ้าน 2.ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว ลดเวลาใช้สื่อออนไลน์ 3.จัดอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ ลด หวาน มัน เค็ม 4.ควบคุมการกินขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน น้ำอัดลม จัดเตรียมนมรสจืดและผลไม้แทน 5.ปลูกฝังนิสัยการกินผักและผลไม้ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ 6 - 8 แก้ว เป็นประจำทุกวัน 6.สอนการอ่านฉลากโภชนาการ ช่วยให้เด็กสามารถเลือกขนมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพได้ 7..ให้เด็กเข้านอน และตื่นนอนเป็นเวลา และนอนหลับให้เพียงพอวันละ 9 - 11 ชั่วโมง

28.03.2567
อากาศร้อน…….รับมืออย่างไร ร่างกายไม่พัง

*ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ โดยไม่ต้องรอให้กระหายน้ำ •หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งช่วงอากาศร้อนจัด •หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง •สวมเสื้อผ้าหลวม สีอ่อน ระบายอากาศได้ดี •สวมหมวกปีกกว้าง ใส่แว่นกันแดด กางร่ม ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป อย่างน้อย 30 นาที ก่อนออกนอกบ้าน •สังเกตอาการตนเอง ดูแลกลุ่มเสี่ยงอย่างใกล้ชิด หากมีอาการหน้ามืด วิงเวียน ปวดศีรษะ หรือสับสน คลื่นไส้ และหายใจเร็ว ให้รีบแจ้งบุคคลใกล้ชิดทันที •หากมีเหตุฉุกเฉินให้รีบติดต่อสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือโทร 1669

14.03.2567
วันนอนหลับโลก World Sleep Day 2024 : Sleep Equity for Global Health นอนหลับสมดุล เป็นต้นทุนสุขภาพสากล

วันนอนหลับโลก World Sleep Day 2024 : Sleep Equity for Global Health นอนหลับสมดุล เป็นต้นทุนสุขภาพสากล การนอนหลับจำเป็นต่อสุขภาพ ระบบอวัยวะภายใน ระบบหัวใจ และระบบไหลเวียนโลหิต ได้พักผ่อน ร่างกายจะเริ่มซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และปรับสมดุลของสารชีวเคมีในร่างกาย ระบบประสาทจะได้จัดเรียงข้อมูลต่างๆ สมองเกิดการเรียนรู้ จดจำ การนอนหลับที่ดี และมีระยะเวลาในการนอนที่เหมาะสม ตามช่วงวัย • เด็กก่อนวัยเรียน อายุ 1-2 ปี เฉลี่ยวันละ 12 ชั่วโมง • เด็กวัยอนุบาล อายุ 3-5 ปี เฉลี่ยวันละ 11 ชั่วโมง • เด็กวัยประถม 6-13 ปี เฉลี่ยวันละ 10 ชั่วโมง • วัยรุ่น อายุ 14-17 ปี เฉลี่ยวันละ 9 ชั่วโมง • วัยผู้ใหญ่ อายุ 18-59 ปี ผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป ควรมีระยะเวลาในการนอนเฉลี่ยวันละ 7-8 ชั่วโมง

08.03.2567
ลดเค็ม ลดโรค

ลดเค็มได้แบบง่ายๆ - เลือกกินอาหารสดหรืออาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด - ลดการใช้เครื่องปรุงรส ในอาหาร เช่น ผงปรุงรส น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสปรุงรส เต้าเจี้ยว และผงชูรส - หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป - ปรุงประกอบอาหารด้วยตัวเอง - ชิมอาหารก่อนปรุงทุกครั้ง - อ่านฉลากโภชนาการ เลือกอาหารที่มีโซเดียมน้อยที่สุด หรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ลดโซเดียม ทำไม?...ต้องลดเค็ม อาหารให้มีรสเค็ม เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

27.02.2567
ใส่บาตร...ใส่ใจ พระสงฆ์ไทยสุขภาพดี

ใส่บาตร...ใส่ใจ พระสงฆ์ไทยสุขภาพดี อาหารตักบาตร ลด หวาน มัน เค็ม ทั้งในของคาว ของหวาน น้ำปานะ เพิ่ม - ข้าวกล้อง แทนข้าวขาว - ผัก ผลไม้ เสริมกากใย วิตามินแคลเซียม

ประกาศ

จัดซื้อจัดจ้าง

ประกาศ

ราคากลาง

แผน

การจัดซื้อจัดจ้าง

ผลสรุป

การจัดซื้อจัดจ้าง