คุณกำลังมองหาอะไร?

ปัจ

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 11 The study of factors affecting early Childhood Development in health region 11 (ถาวร พุ่มเอี่ยม)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

19.04.2564
203
0
แชร์
19
เมษายน
2564

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยและเปรียบเทียบกับการศึกษาที่ผ่านมาระดับเขตสุขภาพที่ 11 การพยากรณ์โอกาสปัจจัยด้านมารดา ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเด็กที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 11 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย บิดา มารดา หรือผู้เลี้ยงดู และเด็กอายุตั้งแต่ 8 เดือน 16 วัน ถึง 5 ปี 11 เดือน 29 วัน จำนวน  800 คน โดยการสุ่มแบบขั้นลำดับ  การเก็บรวบรวมข้อมูลจากสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก  สัมภาษณ์บิดา มารดาหรือผู้เลี้ยงดูด้วยแบบสอบถามสถานการณ์พัฒนาการและพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของครอบครัวไทย  และใช้แบบทดสอบพัฒนาการเด็กปฐมวัย(Denver II) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์  ถดถอยโลจิสติก  ผลการศึกษา พบว่า

  1. เด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 11 มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 39.87 โดยล่าช้าด้านภาษามากที่สุด ร้อยละ 26.63 รองลงมา คือ ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านสังคมและการช่วยตัวเอง และด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ร้อยละ 11.00, 8.13 และ 6.63 ตามลำดับ
  2. ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อการพยากรณ์โอกาสพัฒนาการเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 11 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value <0.05 พบว่า ปัจจัยทางชีวภาพของมารดา คือ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ปัจจัยด้านสุขภาพ และโภชนาการเด็กปฐมวัย คือ น้ำหนักทารกแรกคลอด สุขภาพช่องปาก การกินอาหารมื้อหลัก และน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ส่วนปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและสังคม คือ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ของบิดา ผู้เลี้ยงดูเด็กในช่วงกลางวัน รวมถึงการรับรู้โรงเรียนพ่อแม่ของมารดา

จากข้อมูลที่กล่าวมาแล้วข้างต้นทำให้สรุปได้ว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยมีหลายประการ ทั้งปัจจัยทางชีวภาพด้านคุณลักษณะทางประชากรและสุขภาพของมารดาขณะตั้งครรภ์ ปัจจัยทางชีวภาพด้านสุขภาพเด็กและโภชนาการ รวมถึงปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทางสังคม ปัจจัยตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นน่าจะเป็นเหตุส่วนหนึ่งของพัฒนาการเด็กปฐมวัย จึงมีความจำเป็นในการศึกษาพัฒนาการเด็กปฐมวัยและปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อการพยากรณ์โอกาสพัฒนาการเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นการเฝ้าระวังปัญหาพัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลของการศึกษาในครั้งนี้จะนำไปเป็นข้อมูลในการจัดบริการสุขภาพเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในเขตสุขภาพที่ 11 ได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ข้อเสนอแนะ

จากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า บิดา มารดา เข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่น้อยมาก สาเหตุเกิดจากสถานบริการสาธารณสุขไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ เนื่องจากสถานคับแคบ หรือไม่มีสถานที่ ผู้บริการมีจำนวนมาก หรือบิดามารดาเองไม่สนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมเพราะไม่มีเวลา ควรสร้าง Application เพื่อสะดวกต่อการเรียนรู้ของบิดา มารดา และผู้เลี้ยงดูเด็ก

คำสำคัญ : พัฒนาการเด็ก,เขตสุขภาพที่11

*พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ 

**พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ

 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 11.pdf
ขนาดไฟล์ 362KB
ดาวน์โหลด 49 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย
บทคัดย่อ ปรับแก้170460.pdf
ขนาดไฟล์ 329KB
ดาวน์โหลด 10 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน