คุณกำลังมองหาอะไร?

ระสิทธิผลกระบวนการให้ความรู้โรงเรียนพ่อแม่ ต่อภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ เขตพื้นที่บริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 11

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

19.04.2564
75
0
แชร์
19
เมษายน
2564

บทคัดย่อ

ที่มา: ภาวะโลหิตจางเป็นภาวะผิดปกติของระบบโลหิตที่พบมากที่สุดในหญิงตั้งครรภ์ จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก พ.ศ.25591 พบอุบัติการณ์ของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ เฉลี่ยทั่วโลก ประมาณร้อยละ 51.00 (ร้อยละ 52.00 ในประเทศกำลังพัฒนา และ ร้อยละ 23.00 ในประเทศที่พัฒนาแล้ว) ในประเทศไทยพบว่าหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 23.49-26.40 ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ สาเหตุที่พบมากที่สุดคือภาวะโลหิตจางที่เกิดจากขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiency anemia-IDA) ทำให้เกิดอันตรายต่อมารดาและทารกโดยในระยะตั้งครรภ์มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดและตกเลือดในระยะคลอดและ mortality ได้ การให้การวินิจฉัย รักษา โดยเร็ว ทำให้มารดาแลทารกมีความปลอดภัยและสมบูรณ์แข็งแรง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผกระบวนการให้ความรู้โรงเรียนพ่อแม่ Brain based learning (BBL) ภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็กต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหญิงตั้งครรภ์เขตพื้นที่บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 11 วิธีกาศึกษาวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research)  ศึกษาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2562 สุ่มตัวอย่างมาแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน ได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามโปรแกรม Brain based learning (BBL) ภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก กลุ่มเปรียบเทียบ 40 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามปกติจากเจ้าหน้าที่  ผลการศึกษากลุ่มทดลองหญิงตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับรู้ด้านความเสี่ยง ด้านความรุนแรง ด้านการป้องกัน ด้านพฤติกรรม ด้านการปฏิบัติตัวในการรับประทานอาหารและยาเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจาง การเปลี่ยนแปลงผลของความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในเลือด (Hematocrit) สูงขึ้นจากก่อนการทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.05 การป้องกันภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็กมีความสัมพันธ์ด้านบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการรับประทานอาหาร (r=.507,p-value=.001) การรับรู้ของหญิงตั้งครรภ์ด้านความเสี่ยงและด้านการป้องกันภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็กมีความสัมพันธ์ด้านบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการรับประทานยา (r=.414,p-value=.008),(r=.490,p-value=.001) ส่วนด้านอื่นๆไม่พบความสัมพันธ์

สรุป : ควรดำเนินการส่งเสริมให้สถานพยาบาลทุกแห่งใช้กระบวนการให้ความรู้โรงเรียนพ่อแม่ Brain based learning (BBL) ภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็กต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหญิงตั้งครรภ์ ในการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ทุกแห่ง โดยเน้นให้เห็นถึงประโยชน์ของการป้องกันภาวะโลหิตจาง

คำสำคัญ : ภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก หญิงตั้งครรภ์

*พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช 

   ** พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ  ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช

 *** พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช                                                                                                                                          

**** พยาบาลเทคนิคชำนาญงาน ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

วารสาร.pdf
ขนาดไฟล์ 557KB
ดาวน์โหลด 20 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน