กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และเพื่อศึกษาปัจจัยส่วน
บุคคลที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในกลุ่มวัยท างานเขตสุขภาพที่ 11 โดยท าการศึกษาใน
กลุ่มตัวอย่างอายุ 15 - 59 ปี ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 11 จำนวนทั้งสิ้น 17,706 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้
วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งประกอบด้วย
แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ ที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
สร้างขึ้นโดยเป็นข้อค าถามเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมสุขภาพตามกรอบแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ โดยน า
ข้อมูลมาท าการวิเคราะห์ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่
สถิติไค-สแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คอนติงเจนซี
ผลการวิจัย พบว่า ประชากรกลุ่ม อายุ 15-59 ปี มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการบริโภคผัก
ร้อยละ 78.3 มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการออกแรง ร้อยละ 77.0 มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการ
นอน ร้อยละ 89.6 มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการแปรงฟัน ร้อยละ 67.7 และ มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
ครบทั้ง 4 ด้าน ร้อยละ 45.0
ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ และ อาชีพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ อย่างมี
นัยส าคัญที่ระดับ 0.05
ปัจจัยส่วนบุคคล ด้าน เพศ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ในระดับต่ำ (Contingency
Coefficient=0.019) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ปัจจัยส่วนบุคคล ด้าน อายุมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ในระดับต่ำ (Contingency
Coefficient=0.046) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ปัจจัยส่วนบุคคล ด้าน อาชีพมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ในระดับต่ำ (Contingency
Coefficient=0.048) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้เขตสุขภาพเห็นความสำคัญเกี่ยวกับนโยบาย เพื่อให้เกิดความตระหนักและ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปสู่การมีพฤติกรรมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี นำไปสู่พฤติกรรมที่พึงประสงค์ใน
กลุ่มวัยทำงาน
nuntanat.pdf |
ขนาดไฟล์ 94KB
ดาวน์โหลด 21 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |