กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อเนื่อง จากโรงพยาบาลสู่ชุมชนด้วยระบบดิจิตอล และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในเขตพื้นที่บริการศูนย์อนามัยที่ 11 กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มาพักรักษาแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม2559- 30 กันยายน 2560 และกลับมา readmit จำนวน 16 คน โดยการดำเนินการวิจัย มี 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ 2) ประชุม 4 แกนนำ 3) ปฏิบัติตามแนวทาง 3.1) สร้างgroup line ชื่อโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 3.2) ผลิตคลิปให้ความรู้เรื่องการบริหารปอด การเคาะปอด การใช้ยาพ่น MDI การใช้เครื่องพ่นยา 3.3) อบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 3.4) กำหนดผังการดำเนินงาน 4) ติดตามประเมินผล การติดตามเยี่ยมบ้านของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และอัตราการ readmit เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คลิปสุขภาพ กระบวนการกลุ่ม (Focus Group Discussion) และใช้ระบบดิจิตอล (Group line) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน โดยการมีส่วนร่วมของแกนนำทุกภาคส่วน ที่ทำงานประสานกันโดยใช้ระบบดิจิตอล ทำให้อัตราการ readmit ในรายที่ได้รับ การเยี่ยมตามแนวทางที่กำหนด มีจำนวน 11 คน เท่ากับร้อยละ 0 ส่วนในรายที่ไม่ได้รับการเยี่ยมบ้าน มีจำนวน 5 ราย กลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำร้อยละ 100 เนื่องจากบางเดือนเป็นช่วงฤดูฝนน้ำท่วมหนัก เดินทางลำบากและบางครั้งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านติดภารกิจสำคัญ และพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีปัญหาอุปสรรคส่วนตัว ด้านอาชีพ สิ่งแวดล้อม อายุ ทำให้ต้องกลับมานอนโรงพยาบาล ปีละหลายๆครั้ง
ข้อเสนอแนะ ควรนำวิธีการนี้ขยายไปสู่การดูแลผู้ป่วยทุกคนไม่เฉพาะรายที่มานอนโรงพยาบาลซ้ำ
แบบรายการประกอบคำขอประเมินผลงาน ผลงานที่เป้นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา <<< ดาวโหลด
full paper โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง1.pdf |
ขนาดไฟล์ 1MB
ดาวน์โหลด 10 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |