คุณกำลังมองหาอะไร?

ปัจ

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 30-70 ปี ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแสงวิมาน ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

26.10.2564
71
0
แชร์
26
ตุลาคม
2564

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม การรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านม การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 30-70 ปี ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแสงวิมาน ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช รูปแบบการศึกษา วิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 270 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบค่าความสัมพันธ์ Chi-Square                                                   

                ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง           ระดับปานกลาง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมระดับปานกลาง การรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านมระดับสูง การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการตรวจเต้านมด้วยตนเองระดับปานกลาง    พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองระดับพอใช้ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง พบว่า อายุ, สถานภาพ, ระดับการศึกษา, อาชีพหลัก, ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง, การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม, การรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านม และการรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value < 0.05  ปัจจัยประวัติในครอบครัวมีประวัติโรคมะเร็ง, การได้รับข่าวสารเรื่องโรคมะเร็งเต้านม/การตรวจเต้านมด้วยตนเองไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

                ข้อเสนอแนะ  พัฒนาเชิงนโยบายของเขตสุขภาพที่ 11 โดยประกอบด้วย ศูนย์วิชาการของกรม        ที่เกี่ยวข้อง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ควรมีการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องทำงานเชิงบูรณาการ มีระบบเฝ้าระวัง กำกับติดตาม และพัฒนาองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อพื้นที่ พัฒนาเชิงปฏิบัติการประกอบด้วยโรงพยาบาลทุกระดับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ให้ความรู้ สาธิต ทักษะฝึกปฏิบัติ การตรวจเต้านมด้วยตนเอง และการใช้สื่อสารสนเทศเข้ามาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณ ให้พื้นที่สามารถดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพได้มีประสิทธิภาพ

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

รูปเล่มวิจัยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพ.pdf
ขนาดไฟล์ 1MB
ดาวน์โหลด 25 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย
แบบรายงานประกอบคำขอประเมินผลงาน วิภารัตน.pdf
ขนาดไฟล์ 199KB
ดาวน์โหลด 12 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน