คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การวิเคราะห์การตรวจประเมินเพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการ ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา ตลาด ร้านอาหาร สถานศึกษา และประชาชน ในเขตสุขภาพที่ 11 กระทรวง สาธารณสุข

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

11.10.2564
27
0
แชร์
11
ตุลาคม
2564

การวิจัยครั้งนี้เป็นรายงานการศึกษา  มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ของการประเมินเพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา  2019 ในตลาด ร้านอาหาร สถานศึกษา ในเขตสุขภาพที่ 11 2) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์จากการสำรวจความคิดเห็นทางออนไลน์ เรื่องการปฏิบัติ ตัวตามแนวทางเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ในเขตสุขภาพที่ 11    3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับโรคโควิด 19 และการป้องกัน ควบคุมโรค กับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของบุคคลต่อแนวทางเว้นระยะห่างทางสังคม และกับพฤติกรรมของบุคคลต่อการปฏิบัติในการป้องกันตนเอง ประชากร คือ ประชาชนในเขตสุขภาพที่ 11

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตสุขภาพที่ 11 โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection) ประกอบด้วย ร้านอาหาร 28 ร้าน  ตลาด 28  แห่ง  สถานศึกษา 32 แห่ง ประชาชน 625 คน ที่มีความสมัครใจในการตอบแบบสอบถาม  เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบตรวจประเมินเพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อ        ไวรัสโคโรนา2019 ประเภท ตลาด (ตลาดสด ตลาดนัด ตลาดน้ำ ตลาดชุมชน ถนนคนเดิน) ประเภท ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม รถเข็น หาบเร่ แผงลอย  แบบประเมินตนเองสำหรับสถานศึกษาในการเตรียมความพร้อมการ         เปิดภาคเรียน   เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 แบบสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ เรื่อง การปฏิบัติตามแนวทางการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) (ให้ทำเฉพาะอายุ 15 ปีขึ้น)  สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t-Test Dependent)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ของการประเมินเพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ในตลาด ร้านอาหาร สถานศึกษา ในเขตสุขภาพที่ 11 ผลการวิเคราะห์มาตรการที่ต้องปฏิบัติ ในตลาด พบว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.86 มาตรการเพื่อการป้องกันในตลาด ร้อยละ 84.5 ผลการวิเคราะห์มาตรการที่ต้องปฏิบัติร้านอาหาร พบว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 92.58 มาตรการเพื่อการป้องกันในร้านอาหาร พบว่าค่าเฉลี่ย 72.86  สถานศึกษาในการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียน เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของ     โรคโควิด -19 พบว่ามิติที่ 1 ความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรค ค่าเฉลี่ย 74.73 มิติที่ 2 การเรียนรู้  ค่าเฉลี่ย 98.45    มิติที่ 3 การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส ค่าเฉลี่ย 84.9 มิติที่ 4 สวัสดิภาพและการคุ้มครอง ค่าเฉลี่ย 95.32   มิติที่ 5 นโยบาย ค่าเฉลี่ย 95.83 มิติที่ 6 การบริหารการเงิน ค่าเฉลี่ย 95.32
  2. ผลวิเคราะห์สถานการณ์จากการสำรวจความคิดเห็นทางออนไลน์ เรื่องการปฏิบัติตัวตามแนวทาง เว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ในเขตสุขภาพที่ 11 พบว่าความรู้ต่อโรคโควิด-19 และการป้องกัน ค่าเฉลี่ย 84.37 พฤติกรรมการเว้นระยะห่างทางสังคม ค่าเฉลี่ย 57.91 พฤติกรรมการสวมหน้ากากอนามัยการล้างมือ ค่าเฉลี่ย 67.09
  3. ผลศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับโรคโควิด - 19 และการป้องกัน ควบคุมโรค กับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของบุคคลต่อแนวทางเว้นระยะห่างทางสังคม และกับพฤติกรรมของบุคคลต่อการ    ปฏิบัติในการป้องกันตนเอง การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมส่วนบุคคลต่อแนวทางการเว้นระยะห่างทางสังคม มีค่าเฉลี่ย 0.89 การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติของบุคคลต่อสวมหน้ากากอนามัยและการล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยและการล้างมือ ค่าเฉลี่ย 0.69 การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้    เรื่องโรคฯ และการป้องกันรายข้อ  มีค่าเฉลี่ย 0.48 แสดงว่ามีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์การตรวจประเมินเพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการ ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา ตลาด ร้านอาหาร สถานศึกษา และประชาชน.pdf
ขนาดไฟล์ 232KB
ดาวน์โหลด 7 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน