คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การวิเคราะห์การตรวจประเมินเพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการ ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา ตลาด ร้านอาหาร สถานศึกษา และประชาชน ในเขตสุขภาพที่ 11 กระทรวง สาธารณสุข

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

30.12.2564
162
0
แชร์
30
ธันวาคม
2564

ประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (COVID-19) องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้โรคดังกล่าวเป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก(Pandemic) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 (WHO, 2020) โรคโควิด-19 (COVID-19) เริ่มต้นการระบาดในมณฑลอูฮั่น สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนจีน แต่วันที่ 30 ธันวาคม 2562 โดยการติดต่อผ่านทางการไอ จาม สัมผัสโดยตรงกับ สารคัดหลั่งของของคนและสัตว์ที่อาจเป็นแหล่งรังโรค ต่อมาได้พบผู้ป่วยยืนยันในหลายประเทศทั่วโลก จำนวนผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และญี่ปุ่น และมีการแพร่ ระบาดเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่องทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ดังนั้นในวันที่ 30 มกราคม 2563 องค์การอนามัย โลก จึงได้ประกาศให้การระบาดของโรคโควิด – 19 (COVID-19) เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่าง ประเทศ (Public health emergency of international concern (PHEIC)) และแนะนำทุกประเทศให้ เร่งรัดการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ปัจจุบันพบผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก ในเดือนสิงหาคม 2563 ทั้งหมด 22,325,128 ราย โดยมี 62,063 ราย เป็นผู้ป่วยในภาวะวิกฤตและผู้เสียชีวิตจาก COVID - 19 จำนวน 784,748 ราย ในกว่า 213 ประเทศ (WHO, 2020)

  องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด - 19 (COVID-19) เป็นโรคระบาดใหญ่ ทั่วโลก (Pandemic) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 (WHO, 2020) โดยมีการเริ่มระบาดในมณฑลอูฮั่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน แต่วันที่ 30 ธันวาคม 2562 โดยการติดต่อผ่านทางการไอ จาม สัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของของคนและสัตว์ที่อาจเป็นแหล่งรังโรค ต่อมาได้พบผู้ป่วยยืนยันในหลายประเทศทั่วโลก จำนวนผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่องทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ดังนั้นในวันที่ 30 มกราคม 2563 องค์การอนามัยโลก จึงได้ประกาศให้การระบาดของโรคโควิด - 19(COVID-19)เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public health emergency of international concern (PHEIC)) และแนะนำทุกประเทศให้เร่งรัดการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ปัจจุบันพบผู้ป่วยยืนยัน ทั่วโลก ในเดือนสิงหาคม 2563 ทั้งหมด 22,325,128 ราย โดยมี 62,063 ราย เป็นผู้ป่วยในภาวะวิกฤตและผู้เสียชีวิตจาก COVID - 19 จานวน 784,748 ราย ในกว่า 213 ประเทศ (WHO, 2020)  ประเทศไทยได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และประกาศใช้พระราชกาหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา ซึ่งภายหลังการประกาศมาตรการต่างๆ ยังมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมีผู้ป่วยสะสมถึง 45,185 คน และเสียชีวิตสะสมจำนวน 108 ราย  ณ 20 เมษายน 2564 (กรมควบคุมโรค, 2564)

  ประเทศไทยพบผู้ป่วยรายแรก เป็นผู้ป่วยชาวจีนอายุ 61 ปี ที่เดินทางมาจากสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนจีนเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2563 และยืนยันการป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อ 13 มกราคม พ.ศ. 2563 ต่อจากนั้น มีการระบาดอย่างรวดเร็วมีทั้งผู้ป่วยและเสียชีวิตในหลายจังหวัดทั่ว ประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติจึงได้ ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) เป็น โรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรี ให้ประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา ซึ่งภายหลังการประกาศ มาตรการต่างๆ ยังมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมีผู้ป่วยสะสมถึง 3,636 คน และเสียชีวิตสะสมจำนวน 58 ราย จัดอยู่ใน ลำดับที่ 140 ของโลก (ศูนย์บริหารโควิด, 2563) จึงได้ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉินไปจนถึงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เพื่อให้มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ (กระทรวงสาธารณสุข, 2563)

  รัฐบาลออกประกาศ มีผู้ป่วยตามเกณฑ์สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการตรวจ patients under investigation (PUI) จำนวน 406,172 ราย โดยยืนยันผู้ป่วยทั้งสิ้น 3,395 ราย หายป่วยและแพทย์อนุญาตให้ ออกจากโรงพยาบาล 3,222 ราย อยู่ระหว่างการรักษาพยาบาล 115 ราย และเสียชีวิต 58 ราย ผู้ป่วยยืนยันโรค ติดเชื้อโรคโควิด-19 ที่พบในประเทศไทย มีค่ามัธยฐานของอายุเท่ากับ 36 ปี

 (1 เดือน-97 ปี) เพศชาย 1,900 ราย เพศหญิง 1,495 ราย (ชาย:หญิง =1.27 : 1) สัญชาติไทย 3,049 ราย สัญชาติอื่นๆ 37 ราย และไม่ทราบ 9 ราย มีประวัติโรคประจำตัว 208 ราย และไม่มีโรคประจำตัว 3,187 ราย หากพิจารณาใน กลุ่มเปราะบาง เด็กอายุ 0 - 9 ปี พบว่าผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อสะสม จำนวน 62 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.8 เป็นเด็ก อายุ 10 -19 ปี เป็นผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อสะสม จำนวน 137 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.0 น้อยกว่ากลุ่มผู้ใหญ่ (ข้อมูล ณ สิงหาคม 2563) ไม่มีรายงานผู้ป่วยเด็กที่เสียชีวิตในประเทศไทย (Department of Disease Control, Thailand, 2020) สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษาเป็นอย่างมากองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) รายงานว่า เด็กนักเรียน จำนวนกว่า 1.57 พันล้านคน จากกว่า 188 ประเทศ หรือคิดเป็นร้อยละ 91.3 ของผู้เรียนจากทั่วโลก จำเป็นต้องพักการเรียนจากการประกาศปิดสถานศึกษาทั้งประเทศ และโรงเรียนต้องออกมาตรการป้องกันหรือ การปรับการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ รวมถึงนักเรียนในประเทศไทย จำนวน 13 ล้านคน ตั้งแต่ระดับปฐมวัยไป จนถึงอุดมศึกษา (UNESCO, 2020) อย่างไรก็ตาม หากมีการเปิดเรียน มีโอกาสสูงที่จะเกิดการติดเชื้อในกลุ่มเด็ก เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเด็กเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลและระมัดระวังในการกระจายเชื้อเป็นอย่างมาก การวางระบบ การเตรียมความพร้อมเปิดเรียนฯ จึงมีความสำคัญมากในการควบคุมการระบาด (กรมควบคุมโรค, 2563)

  จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)    ทำให้ประเทศไทยต้องมีมาตรการดูแลสุขภาพของประชาชน พร้อมกับการควบคุมการแพร่กระจายของโรค โดยเฉพาะโรงเรียนเป็นสถานที่สำคัญ ที่ควรมีการดูแลเพื่อป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค รวมทั้งส่งเสริมความรอบรู้แก่ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อป้องกันตนเองและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย (WHO Thailand) องค์การทุนเพื่อนเด็กแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNICEF) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และผู้เชี่ยวชาญจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้บูรณาการและร่วมกันจัดทำ “คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19” เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับสถานศึกษา ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 โดยเน้น ความสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา และเอื้ออำนวยให้เกิดการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษาสามารถ ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัย โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วยองค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคโควิด - 19 แนวปฏิบัติสำหรับบุคลากรในสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าของสถานศึกษา ครู ผู้ดูแลนักเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง และแม่ครัว ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปฏิบัติงานทำความสะอาด การจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม บริเวณต่างๆ ของสถานศึกษา มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 กรณีเกิดการระบาด และสื่อรอบรู้ด้านสุขภาพนักเรียน ตลอดจนขั้นตอนการดำเนินงานคัดกรองและส่งต่อแบบประเมินตนเอง สำหรับสถานศึกษา แบบประเมินตนเองสำหรับนักเรียน แบบบันทึกการตรวจคัดกรองสุขภาพสำหรับนักเรียน การจัดการเรียนการสอนช่วงเปิดภาคเรียน บทเรียนแนวปฏิบัติช่วงเปิดเรียนในต่างประเทศ รองรับสถานการณ์โรคโควิด - 19 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้ให้สถานศึกษาประเมินความพร้อมในการเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2563 โดยการประเมินตนเอง พร้อมให้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามแบบประเมินตนเอง สำหรับสถานศึกษาในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19

  สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19  ภายในประเทศไทยขณะนี้ พบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่องนับเป็นการระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย นับตั้งแต่การติดเชื้อจากคนไทยที่ลักลอบเข้าประเทศในจังหวัดเชียงราย จนมาถึงการติดเชื้อใหม่จากกลุ่มซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าว  ที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับการระบาดในระลอกแรกอย่างตอนสนามมวยหรือผับที่ทองหล่อ การระบาดระลอกใหม่นี้ ผู้ติดเชื้อรายแรกเป็นหญิงอาชีพค้าขาย (เจ้าของแพปลา) ในตลาดกลางกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร ได้ขยายวงกว้างไปในหลายจังหวัด มีทั้งผู้ที่สัมผัสใกล้ชิด และผู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดอาหารทะเลในจังหวัดสมุทรสาคร รวมถึงแรงงานต่างด้าว จากการติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด - 19  พบว่า ณ วันที่ 23 มกราคม 2564 ประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมทั้งสิ้น 13,302 ราย เป็นการติดเชื้อระลอกใหม่ 9,065 ราย โดยผู้ติดเชื้อรายใหม่ในวันนี้ มีจำนวน 198 ราย ซึ่งลดลงจากวันก่อนหน้า แต่ยังคงพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ โดยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ สูงสุดในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 163 ราย ส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติและมีชาวไทยติดเชื้ออีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งชี้ให้เห็นว่ายังมีการแพร่กระจายเชื้ออยู่ในพื้นที่ จึงมีการเฝ้าระวังการติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง งดเดินทางข้ามจังหวัด และรักษาความเข้มข้นของมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด อีกทั้งขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตาม มาตรการป้องกันโรค เช่น สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือเว้นระยะห่างและลดการเดินทางที่ไม่จำเป็น เพื่อควบคุมการแพร่กระจายโรคให้อยู่ในวงจำกัด และจากเหตุการณ์ที่กล่าวมานี้ ส่งผลให้ประชาชนกังวลถึงความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน การรับประทานอาหารและโอกาสการติดเชื้อในการไปตลาด  โดยบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ประเมินการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อโรคโควิด - 19 รอบใหม่ พบว่าความสูญเสียที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าประมงและอาหารทะเลที่อาจมีมูลค่ารวมกันราว 13,000 ล้านบาท 

                ด้วยบทบาทกรมอนามัยเป็นองค์กรหลักของประเทศในการอภิบาลระบบส่งเสริมสุขภาพและระบบอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อประชาชนสุขภาพดี  จึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโดยมีบทบาท ให้ประชาชน /สถานประกอบการ/กิจการ/กิจกรรมต่างๆ ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค และมาตรการทางด้านสุขาภิบาล ด้วยการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ การบังคับใช้กฎหมาย      การเฝ้าระวัง ติดตามกำกับ และข้อสั่งการจากกระทรวงสาธารณสุข ให้กรมอนามัยส่งเสริมให้ประชาชน   มีพฤติกรรมด้านสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด ทั้งการใส่หน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่าง       การล้างมือ ฯลฯ และการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ เครือข่าย ชมรม หน่วยงานรัฐ เอกชน มีส่วนร่วมในการยกระดับมาตรฐาน ควบคุม กำกับ สถานประกอบการ/กิจการ/กิจกรรม ดำเนินงานตามมาตรฐานสุขาภิบาล อย่างเคร่งครัด ได้เล็งเห็นความสำคัญของการกำกับ ติดตาม ป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโรคโควิด - 19 โดยส่งเสริม ให้มีผู้พิทักษ์อนามัยโรงเรียน ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้ความรู้ ตรวจตรา     เฝ้าระวัง และรายงานการปฏิบัติตามมาตรการหลักในการป้องกัน การแพร่ระบาดโรคโควิด -19        ในสถานศึกษาและสถานประกอบกิจการ ที่สอดคล้องตามมาตรการหลักของรัฐให้กับสถานศึกษา และสถานประกอบกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าว กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยเรียน ศูนย์อนามัยที่ 11 จึงได้จัดทำโครงการยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพประชาชนและสุขาภิบาลสถานประกอบการ รองรับการระบาดของ COVID-19 ศูนย์อนามัยที่ 11 ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยบูรณาการกับโครงการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โครงการผู้พิทักษ์อนามัยร่วมสร้างความปลอดภัย มั่นใจ ต้านภัยโควิดภาคประชาชน เพื่อทำหน้าที่ เป็นที่ปรึกษา แนะนำ ให้ความรู้ ตรวจตรา เฝ้าระวัง      การปฏิบัติตามมาตรการของสถานศึกษา พร้อมกับส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) และการป้องกันการแพร่ระบาดซ้ำ ในสถานศึกษา                  สถานประกอบการ ตลอดจน และชุมชนสร้าง Health coach ภาคประชาชน ในการให้คำปรึกษาแนะนำและเฝ้าระวังสุขภาพตนเองได้ดียิ่งขึ้น จึงมีการสร้างผู้พิทักษ์อนามัยรอบรู้สุขภาพในโรงเรียนขึ้น จากผู้ทรงคุณวุฒิทางสาธารณสุขที่เกษียณอายุราชการ  ซึ่งเป็นผู้มีจิตอาสาภาคประชาชน  เพื่อทำหน้าที่ เป็นที่ปรึกษา แนะนำ ให้ความรู้ ตรวจตรา เฝ้าระวัง และประเมินการปฏิบัติตามมาตรการของสถานศึกษา และชุมชน (ตลาด  ร้านค้า)  พร้อมรายงานให้กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขรับทราบ เพื่อให้วางแผนการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์การตรวจประเมินเพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019.pdf
ขนาดไฟล์ 370KB
ดาวน์โหลด 28 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน