กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
วิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานโครงการก้าวย่างเพื่อสร้างลูกของในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองเด็กอายุแรกเกิดถึง 6 เดือนที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน กลุ่มควบคุม 35 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการดูแลเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือนและแบบประเมินทักษะเกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและt-test
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านความรู้ผู้ปกครองในการดูแลเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือนของกลุ่มที่ใช้ Line ก้าวย่างเพื่อสร้างลูกหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยของด้านความรู้สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยทางสถิติ (p < 0.001) ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือนของกลุ่มที่ใช้ Line ก้าวย่างเพื่อสร้างลูกหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยของด้านการปฏิบัติสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยทางสถิติ (p < 0.001)
ค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านความรู้ในการดูแลเด็กของกลุ่มทดลองภายหลังการทดลอง (M = 22.80, SD = 2.373) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (M = 19.971, SD = 2.651) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.702, p < 0.001) ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดถึง 6 เดือนของกลุ่มทดลอง (M = 56.771, SD = 3.948) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (M = 50.714, SD = 5.176) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 5.504, p < 0.001)
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรนำ Line ก้าวย่างเพื่อสร้างลูกประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการดูแลเด็กในช่วงอายุต่างๆ เพื่อให้เกิดการดูแลเด็กอย่างต่อเนื่อง พัฒนาทีมดำเนินงานทุกระดับให้มีทักษะและสามารถในการแนะนำการใช้ Line ก้าวย่างเพื่อสร้างลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสื่อสารประชาสัมพันธ์ Line ก้าวย่างเพื่อสร้างลูกให้แก่ผู้ปกครองอย่างครอบคลุม
คำสำคัญ โครงการก้าวย่างเพื่อสร้างลูก ความรู้ในการดูแลเด็ก เด็กอายุแรกเกิดถึง 6 เดือน
นางสาวกิติยา ชำนาญกิจ
นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ ศูนย์อนามัยที่ 11
การเปรียบเทียบความรู้และการปฏิบัติของผู้ปกครองในการดูแลเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน.pdf |
ขนาดไฟล์ 227KB
ดาวน์โหลด 26 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |