คุณกำลังมองหาอะไร?

ศึ

ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ในกลุ่มวัยทำงาน เขตสุขภาพที่ 11

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

27.01.2566
40
0
แชร์
27
มกราคม
2566

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาปัจจัยเอื้อต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ 2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และ3)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนกลุ่มวัยทำงานในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 11 จำนวน 1,200 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้       1)สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบียนมาตรฐาน 2)สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ

         ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า 1)ปัจจัยเอื้อต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ได้แก่ ระดับความรู้ อยู่ระดับปานกลาง (X? = 7.97, S.D. = 1.13), ระดับการรับรู้ประโยชน์ อยู่ระดับสูง (X? = 4.44, S.D. = 0.56), ระดับการรับรู้อุปสรรค อยู่ระดับปานกลาง (X? = 2.89, S.D. = 1.03), ระดับแรงสนับสนุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม อยู่ระดับสูง (X? = 4.25, S.D. = 0.52) และพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับดี (X? = 3.0 7,          S.D. = 0.35) 2)ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ได้แก่ ระดับการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.065 p < 0.05), ระดับความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.151 p < 0.001), ระดับการรับรู้ประโยชน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.401 p < 0.001), ระดับการรับรู้อุปสรรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.111 p < 0.001) และระดับแรงสนับสนุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ       (r = 0.369 p < 0.001) และ3)ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ มีตัวทำนาย 3 ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การรับรู้ประโยชน์, การรับรู้อุปสรรค และแรงสนับสนุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งตัวแปรทั้ง 3 ตัวสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในกลุ่มวัยทำงานได้ ร้อยละ 21.6 (R square = 0.216) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.001

         ผู้วิจัยเสนอแนะควรนำไปใช้วางแผนงานการจัดการทำมาตรการการป้องกัน และควบคุมปัญหาพฤติกรรมสุขภาพ และกำหนดนโยบายทิศทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ         ที่พึงประสงค์ในกลุ่มวัยทำงาน

 

คำสำคัญ : ปัจจัยอิทธิพล, พฤติกรรมสุขภาพพึงประสงค์, วัยทำงาน, เขตสุขภาพที่ 11

 

นันทนาถ  ช่วยสกุล และภากร  ช่วยสกุล

ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ในกลุ่มวัยทำงาน เขตสุขภาพที่ 11.pdf
ขนาดไฟล์ 1MB
ดาวน์โหลด 28 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน