คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การประเมินผลการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนการดำเนินงานของศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

23.04.2567
25
1
แชร์
23
เมษายน
2567

การประเมินผลการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนการดำเนินงานของศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

จิตติมา นาคะนนท์

 

บทคัดย่อ

          ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช เป็นหน่วยงานที่บริหารจัดการงบประมาณให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ หลักเกณฑ์ที่กรมอนามัยกำหนด และพบว่าการบริหารจัดการงบประมาณของศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ในช่วงระยะเวลา 2-3 ปี ที่ผ่านมา มีปัญหาอุปสรรค อาทิเช่น การสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการเบิกจ่ายงบประมาณ ความรู้ความเข้าใจในการใช้งบประมาณ ความเข้าใจกระบวนการงบประมาณ การกำกับติดตามการใช้งบประมาณ ผลการเบิกจ่ายงบประมาณไม่มีเสถียรภาพเท่าที่ควรบางปีงบประมาณสามารถดำเนินงานสำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้และผลการเบิกจ่ายบรรลุค่าเป้าหมายทุกไตรมาส บางปีไม่สามารถทำได้   ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาการประเมินผลการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนการดำเนินงานของศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564  เพื่อศึกษาปัจจัยหรือสาเหตุ และหาทางแก้ไขปรับปรุงพัฒนาที่เหมาะสมต่อไป

วัตถุประสงค์การวิจัย

  1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนการดำเนินงานของศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
  2. 2. เพื่อประเมินผลการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนการดำเนินงานของศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
  3. 3. เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนการดำเนินงานของศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช

วิธีการดำเนินการวิจัย

          เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม ประกอบการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มงาน และ  2) ตัวแทนจากทุกกลุ่มงาน จำนวน 43 คน โดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์การผันแปรทางเดียว

ผลการวิจัย

          พบว่า ผลการทดสอบทางสถิติของกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ ระยะเวลาปฏิบัติงานที่ศูนย์อนามัยที่ 11 และการได้รับการประชุม/อบรมเกี่ยวการเบิกจ่ายงบประมาณ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนการดำเนินงานของศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 พบว่า ปัจจัยด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ประเด็นเอกสารรายละเอียดการเบิกจ่ายงบประมาณ และกระบวนการ/วิธีการเบิกจ่ายงบประมาร ปัจจัยด้านปัจจัยนำเข้า ประเด็นความรู้/ความเข้าใจการเบิกจ่ายงบประมาณ และแผนการดำเนินงาน/โครงการ ปัจจัยด้านกระบวนการ ประเด็นระบบการสื่อสารและการประสานงานกลุ่มงาน และการบริหารจัดการเบิกจ่ายงบประมาณ และปัจจัยด้านผลผลิต ประเด็นการรายงานผลการเบิกจ่ายและการประสาน/สนับสนุน/ช่วยเหลือการเบิกจ่ายงบประมาณ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการประเมินผลการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนการดำเนินงานของศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 พบว่า ด้านที่ 1) ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม อยู่ในระดับมาก (Mean=4.29) ร้อยละ 55.8 ด้านที่ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมาก (Mean=4.27) ร้อยละ 60.4 ด้านที่ 3) ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก (Mean=4.29) ร้อยละ 62.8 ด้านที่ 4) ด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก (Mean=4.22) ร้อยละ 65.1 และภาพรวมทั้งหมดของการประเมินผล อยู่ในระดับมาก (Mean=4.23) ร้อยละ 60.5

 

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย

ด้านที่ 1 บริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context Evaluation : C)    

            1.1 สร้างกลุ่ม Line Group ในการให้คำแนะนำ หรือสนับสนุนการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติ

            1.2 การนำระบบสื่อสารและเทคโนโลยีมาใช้ในการกำกับ ติดตาม และสนับสนุนการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนการดำเนินงาน เช่น ?Line Group website หน่วยงาน เป็นต้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้รับรู้สถานการณ์และสามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ

            1.3 การนำเทคโนโลยีและสารสนเทศเข้ามาช่วยในการดำเนินงานระหว่างภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในกรณีเกิดโรคอุบัติใหม่ หรือภัยพิบัติ ภัยธรรมราติ

 

ด้านที่ 2 กระบวนการ (Process Evaluation :P) 

            1.1 การกำกับ ติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณตามกรอบวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการใช้งบประมาณจากเวทีการประชุมคณะกรรมการบริหารหน่วยงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และสามารถพัฒนา ปรับปรุง/แก้ไขในบางประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            1.2 จัดทำคู่มือ หรือขั้นตอนการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนการดำเนินงาน เพื่อง่ายต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีแบบฟอร์มที่พร้อมในการดำเนินการ

            1.3 พัฒนาระบบการบริหารงบประมาณให้ครอบคลุมทุกสถานการณ์

1.4 การสร้างความรู้ ความเข้าใจและแนวทางปฏิบัติตามขั้นตอนการเบิกจ่ายงบประมาณในการพัฒนาเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพในการดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณการดำเนินงานของแต่ละกลุ่มงาน และเกิดภาพรวมการดำเนินงานของหน่วยงานในการเบิกจ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

1.5 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มงานหรือกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และง่ายต่อความเข้าใจ ทำให้เกิดการดำเนินงานการเบิกจ่ายงบประมาณมีประสิทธิภาพทั้งองค์กร

 

คำสำคัญ: การประเมินผล / การเบิกจ่าย / งบประมาณ  / การดำเนินงาน

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การประเมินผลการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนการดำเนินงานของศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ขนาดไฟล์ 3MB
ดาวน์โหลด 1 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน