คุณกำลังมองหาอะไร?

พั

พัฒนาสื่อแอปพลิเคชั่นในการสร้างความรอบรู้ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ของหญิงวัยรุ่นมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดนครศรีธรรมราช

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

13.05.2567
21
0
แชร์
13
พ.ค.
2567

 งานวิจัยการพัฒนาสื่อแอปพลิเคชั่นในการสร้างความรอบรู้ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นหญิงมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อแอปพลิเคชั่นการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นหญิง 2) เพื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ก่อนและหลังใช้สื่อแอปพลิเคชั่นการป้องกันการตั้งครรภ์ และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพสื่อแอปพลิเคชั่นการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหญิง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนหญิง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 30 ราย การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษากึ่งทดลอง(one group pretest- posttest design) ดังแผนภาพ (quasi -experimental) แบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังโดยผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 13 ปี คิดเป็นร้อยละ 50.0 ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 43.3 มีพี่น้อง 3 คนขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 53.3 พักอาศัยอยู่กับพ่อและแม่ คิดเป็นร้อยละ 53.3 ครอบครัวมีอาชีพรับจ้าง คิดเป็นร้อยละ 50.0 มีรายได้ครอบครัว มากกว่า 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 70.0 มีรายได้เพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 86.7 ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อแอปพลิเคชั่นในการสร้างความรอบรู้ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความเหมาะสมของการนำเสนอ (ค่าเฉลี่ย = 4.83) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ความน่าสนใจในการนำเสนอ และความง่ายต่อการใช้งานของระบบ อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน (ค่าเฉลี่ย = 4.50) ผลการวิเคราะห์ความรอบรู้ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน สามารถแบ่งออกได้ 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนการใช้แอปพลิเคชั่น พบว่าความรอบรู้ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูล อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.82) รองลงมา ได้แก่ ความเข้าใจ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.62) และการตัดสินใจ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.61) ตามลำดับ หลังการใช้แอปพลิเคชั่น พบว่าความรอบรู้ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.07) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การเปลี่ยนพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.14) รองลงมา ได้แก่ การตัดสินใจ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.10) และการสื่อสาร อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.08) ตามลำดับ การติดตามผล พบว่าความรอบรู้ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การตัดสินใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.67) รองลงมา ได้แก่ การเปลี่ยนพฤติกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.64) และการเข้าถึงข้อมูล อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.62) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงภายใน pretest - posttest - followup test เปรียบเทียบรายคู่ พบว่า pretest - posttest - followup test แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การทดลองครั้งนี้ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาทั้ง 3 ช่วงเวลา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกช่วงเวลา และผลการประเมินประสิทธิภาพสื่อแอปพลิเคชั่นการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหญิง พบว่า มีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 5.00) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ได้แก่ ด้านการออกแบบหน้าจอ (ค่าเฉลี่ย = 5.00) ด้านเนื้อหาการเรียน (ค่าเฉลี่ย = 5.00) ความสะดวกต่อการใช้งาน (ค่าเฉลี่ย = 5.00) ประสิทธิภาพการทำงาน (ค่าเฉลี่ย = 5.00) และประโยชน์ต่อการเรียน (ค่าเฉลี่ย = 5.00)

 

คำสำคัญ สื่อแอปพลิเคชั่นการสร้างความรอบรู้การป้องกันการตั้งครรภ์ของหญิงวัยรุ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช

 

นางพจณา  โชโชล 

พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาสื่อแอปพลิเคชั่นในการสร้างความรอบรู้ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ของหญิงวัยรุ่นมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดนครศรีธรรมราช
ขนาดไฟล์ 2MB
ดาวน์โหลด 9 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน