กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
นางพจณา โชโชล
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์อนามัยที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ส่วนใหญ่เป็นการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และได้รับผลกระทบด้านต่าง ๆ เช่น การติดโรคจากการมีเพศสัมพันธ์ ทำแท้ง ทารกเสียชีวิตการจากคลอด และการขาดโอกาสในการศึกษาต่อของวัยรุ่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เพื่อพัฒนาสื่อแอปพลิเคชันการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นหญิง เปรียบเทียบความรอบรู้ก่อนและหลังใช้สื่อ แอปพลิเคชันการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นหญิง และประเมินประสิทธิภาพสื่อแอปพลิเคชันการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นหญิง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนหญิง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน ๓๐ ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสำรวจปัญหา การพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน แบบทดสอบความรู้ และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การเปรียบเทียบความรอบรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ วิเคราะห์โดยใช้สถิติ Paired t-test ดำเนินการระหว่าง ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๗
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๐ คน ส่วนใหญ่อายุ ๑๓ ปี ร้อยละ ๕๐.๐ อายุเฉลี่ย ๑๓.๖ ปี อายุต่ำสุด ๑๒ ปี อายุสูงสุด ๑๖ ปี ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ร้อยละ ๔๓.๓ ความรอบรู้ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ ระยะก่อนการใช้แอปพลิเคชัน ความรอบรู้ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = ๓.๕๗, SD = ๐.๙๒) ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูล ( X = ๓.๘๒, SD = ๐.๙๘) ระยะหลังใช้แอปพลิเคชัน ความรอบรู้ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = ๔.๐๗, SD = ๐.๕๓) และระยะติดตามผลระยะ ๔ เดือน ความรอบรู้ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = ๔.๖๓, SD = ๐.๔๕) ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การตัดสินใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = ๔.๖๗, SD = ๐.๖๐) การเปรียบเทียบความรู้การป้องกันการตั้งครรภ์พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้มากกว่าก่อนใช้แอปพลิเคชัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < ๐.๐๕) และระยะติดตามผล ๔ เดือนมีคะแนนเฉลี่ยความรู้มากกว่าก่อนและหลังใช้แอปพลิเคชัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < ๐.๐๕) และผลการประเมินประสิทธิภาพสื่อแอปพลิเคชันการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหญิง พบว่า มีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = ๕๐.๐, SD = ๐๐) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ความพึงพอใจที่มีต่อแอปพลิเคชันในการสร้างความรอบรู้ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = ๔.๓๙, SD = ๐.๗๘) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความเหมาะสมของการนำเสนอ ( X = ๔.๘๓, SD = ๐.๕๙) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ความน่าสนใจในการนำเสนอ และความง่ายต่อการใช้งานของระบบ อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน ( X = ๔.๕๐, SD = ๐.๘๒)
คำสำคัญ สื่อแอปพลิเคชัน การสร้างความรอบรู้ การป้องกันการตั้งครรภ์
พัฒนาสื่อแอปพลิเคชันในการสร้างความรอบรู้ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ของหญิงวัยรุ่นมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดนครศรีธรรมราช |
ขนาดไฟล์ 438KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |