คุณกำลังมองหาอะไร?

ลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

04.07.2568
5
0
แชร์
04
กรกฎาคม
2568

ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

สุภาพร  ศรีอุทัย

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์อามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คืออาการผิดปกติของระบบประสาทที่เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ซึ่งสามารถเกิดได้จากการที่หลอดเลือดสมองตีบหรือแตก ทำให้เกิดอาการ การอ่อนแรงของแขนหรือขา การพูดไม่ชัด สูญเสียความสามารถในการคิดหรือการเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและความพิการของประชากรไทยและทั่วโลก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง (One Group Pretest-Posttest Design) เพื่อศึกษาระดับความรู้ พฤติกรรมการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรม การเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ก่อนและหลังทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการ ในโรงพยาบาลศูนย์อนามัยที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช จำนวน ๓o คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ก่อนทดลองและหลังทดลองโดยใช้สถิติ Paired t-test ดำเนินการระหว่าง ตุลาคม ๒๕๖๖ ถึง เมษายน ๒๕๖๗

ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๐ คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน ๒๒ คน ร้อยละ ๗๓.๓  อายุ ๔๑ ปีขึ้นไป จำนวน ๒๕ คน ร้อยละ ๘๓.๓ อายุเฉลี่ย ๓๔.๔ ปี อายุต่ำสุด ๓๑ ปี อายุสุงสุด ๗๒ ปี ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลายหรือ ปวช. อนุปริญญา หรือ ปวส. และปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ ๓๓.๓ เท่ากัน สถานภาพสมรสอยู่ด้วยกัน ร้อยละ ๘o.o อาชีพรับจ้าง ร้อยละ ๖๓.๓ จากการศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดในสมองในผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง พบว่าก่อนทดลองมีความรู้ ระดับปานกลาง (x? = ๑๒.๔๐, SD = ๓.๗๐) หลังทดลองมีความรู้ ระดับดี (x? = ๑๘.๒๓, SD = ๒.๕๙) ระดับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ก่อนทดลองพฤติกรรม ระดับปานกลาง (x? = ๔๕.๖๐, SD = ๘.๗๕) หลังทดลองพฤติกรรม ระดับดี (x? = ๘๐.๐๐, SD = ๖.๔๖) การเปรียบเทียบความรู้การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พบว่าหลังทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้มากกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < ๐.๐๕) การเปรียบเทียบพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พบว่าหลังทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมมากกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < ๐.๐๕) ดังนั้นควรขยายการใช้โปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ให้ครอบคลุมผู้รับบริการผู้ป่วยโรคเบาหวาน และกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ในโรงพยาบาลศูนย์อนามัยที่ ๑๑ เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และลดอุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และพัฒนาระบบบริการเชิงรุกต่อไป

คำสำคัญ โปรแกรมพัฒนาพฤติกรรม โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ขนาดไฟล์ 339KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน