กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลกระบวนการให้ความรู้โรงเรียนพ่อแม่
Brain based learning (BBL) ภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็กต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหญิง
ตั้งครรภ์เขตพื้นที่บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 11 วิธีการศึกษาวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิง
กึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ศึกษาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 30
กันยายน 2562 สุ่มตัวอย่างมาแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน ได้รับการจัดกระบวนการ
เรียนรู้ตามโปรแกรม Brain based learning (BBL) ภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก กลุ่ม
เปรียบเทียบ 40 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามปกติจากเจ้าหน้าที่ ผลการศึกษากลุ่มทดลองหญิง
ตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับรู้ด้านความเสี่ยง ด้านความรุนแรง ด้านการป้องกัน ด้าน
พฤติกรรม ด้านการปฏิบัติตัวในการรับประทานอาหารและยาเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจาง การ
เปลี่ยนแปลงผลของความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในเลือด (Hematocrit) สูงขึ้นจากก่อนการทดลอง
และกลุ่มเปรียบเทียบมีความแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ 0.05 การป้องกันภาวะโลหิตจางจาก
ขาดธาตุเหล็กมีความสัมพันธ์ด้านบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการรับประทาน
อาหาร (r=.507,p-value=.001) การรับรู้ของหญิงตั้งครรภ์ด้านความเสี่ยงและด้านการป้องกันภาวะ
โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็กมีความสัมพันธ์ด้านบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการ
รับประทานยา (r=.414,p-value=.008),(r=.490,p-value=.001) ส่วนด้านอื่นๆไม่พบความสัมพันธ์
สรุป : ควรดำเนินการส่งเสริมให้สถานพยาบาลทุกแห่งใช้กระบวนการให้ความรู้โรงเรียนพ่อ
แม่ Brain based learning (BBL) ภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็กต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
หญิงตั้งครรภ์ ในการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ทุกแห่ง โดยเน้นให้เห็นถึงประโยชน์ของ
การป้องกันภาวะโลหิตจาง