คุณกำลังมองหาอะไร?

ปัจ

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

20.07.2566
40
0
แชร์
20
กรกฎาคม
2566

 เยาวภา แขกพงค์

ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์อาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้ไปให้คำแนะนำเรื่องท่าทางการทำงานที่ถูกต้องเหมาะสมแก่พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ดำเนินการเก็บข้อมูลกลุ่มประชากรพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ทุกคน จำนวนทั้งสิ้น 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามีทั้งหมด 5 ส่วนได้แก่ ส่วนที่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2) แบบสอบถามปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน ส่วนที่ 3) แบบสอบถามปัจจัยด้านการยศาสตร์จากการปฏิบัติงาน ส่วนที่ 4) แบบสอบถามบริเวณตำแหน่งของร่างกายที่พบอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในช่วง ระยะเวลา 7 วันและในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ทำการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์พยาบาลวิชาชีพ ส่วนที่ 5) แบบสอบถามปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ

          ผลการศึกษาพบว่าประชากรมีอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในช่วง 7 วันที่ผ่านมาเท่ากับร้อยละ 91.8 และในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเท่ากับร้อยละ 83.7 บริเวณตำแหน่งของร่างกายที่พบอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อมากที่สุด 3 ลำดับแรกในช่วง 7 วันที่ผ่านมาได้แก่ ไหล่(ร้อยละ 22.1) รองลงมาเป็นหลังส่วนบน(ร้อยละ20.0) และบริเวณคอ(ร้อยละ 16.4) ตามลำดับ และในช่วงระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา บริเวณตำแหน่งของร่างกายที่พบอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อมากที่สุด 3 ลำดับแรกได้แก่ ไหล่(ร้อยละ 23.4) รองลงมาเป็นหลังส่วนบน(ร้อยละ 18.2) และบริเวณคอ(ร้อยละ 17.5) ตามลำดับ โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในช่วง 7 วันที่ผ่านมาได้แก่ เพศ การสูบบุหรี่ และในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาได้แก่ เพศ การสูบบุหรี่ และปัจจัยด้านการยศาสตร์ ท่าทางการทำงานที่มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ

 

          ข้อเสนอแนะ: ผลจากการศึกษาที่ได้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนส่งเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดระดับความรุนแรงของอาการทั้งในกลุ่มที่พบอาการและไม่พบอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพยาบาลวิชาชีพ และควรอบรมให้ความรู้ท่าทางการปฏิบัติงานตามหลักการยศาสตร์ที่ถูกต้องเหมาะสมของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีสุขภาพที่ดี เพิ่มผลลัพธ์การทำงานอย่างมีคุณภาพ

 

คำสำคัญ: อาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, พยาบาลวิชาชีพ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

             ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช
ขนาดไฟล์ 46KB
ดาวน์โหลด 7 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน